อุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลก ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นับตั้งแต่เทคโนโลยีดิจิทัลมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
โดยที่โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆทั่วโลก จะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก และแน่นอนว่าได้มีข้อมูลจำนวนมมหาศาลถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกันด้วย
สำหรับการก่อสร้างแล้ว เรื่องตัวเลข ถือเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์จะยังคงมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม
แต่ก็อาจจะยังล้าหลังอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีกหรือการเงิน อย่างไรก็ตาม เพิ่งได้มีการค้นพบว่า
การวิเคราะห์เชิงลึก และ Big Data ขั้นสูงที่เหมาะกับอุตสาหกรรมนี้
บริษัทธุรกิจก่อสร้าง ที่กำลังเริ่มต้นปรับเปลี่ยนตัวเอง เช่น มีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านคลาวด์ได้แบบ real time
ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่ ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ
เช่น สถาปนิก ที่ต้องการปลดปล่อยพลังงานแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ และวิศวกร ผู้ที่พยายามทำทุกอย่างให้เหมาะสม
ถูกต้องตามหลักการวิศวกรรม และเจ้าของ ผู้ที่พยายามที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ต่ำที่สุด
John Jacobs, CIO แห่งบริษัท JE DUNN ที่ดูแลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า
โครงการของเขาทำสำเร็จได้ด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเครื่องมือเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง
โดยมีกระบวนการที่ซับซ้อนที่จะต้องพบเจอในการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น
ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลของบริษัท เอกสาร และตารางเวลาต่างๆ รวมถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้
จะต้องเชื่อมโยงกันและเป็นเครือข่ายข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
Jacobs ยังได้ให้ความเห็นว่า โลกของเรามีซอฟท์แวร์มากมาย แต่ไม่มีอะไรที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ดังนั้นเราต้องคิดและสร้างขึ้นมาเอง และนั่นหมายความว่า เราได้สร้างรากฐานทางเทคโนโลยี ที่เป็นการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมของการก่อสร้างนั่นเอง ซึ่งบริษัทของเขา ได้ร่วมกับผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ เพื่อสร้างระบบในรูปแบบโมเดลขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ที่สามารถคาดการณ์ได้แบบ real-time ในรูปแบบ Virtualization Technology
กระบวนการออกแบบเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น หลังจากที่มีการพัฒนาระบบดังกล่าวสำเร็จ ในขณะที่ก่อนหน้านี้
การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในการออกแบบอาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนในการสื่อสารระหว่าง สถาปนิก วิศวกร และเจ้าของโครงการ เพื่อขอข้อมูลถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะนี้สามารถทำได้เกือบจะทันที
Jacobs บอกด้วยว่า Big Data ของบริษัทที่ขับเคลื่อนโดย BIM (building information modelling) นั้น
จะสามารถช่วยลดต้นทุนของการก่อสร้างที่มีมูลค่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงได้ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ
และยังสามารถก่อสร้างได้เสร็จเร็วขึ้น 12 สัปดาห์อีกด้วย โดยลดเวลาในช่วงก่อนการก่อสร้างลงไปได้อย่างมาก
อุปสรรคในอุตสาหกรรมก่อสร้าง คือการมีข้อมูลจำนวนมาก เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่จะถูกเก็บสะสมไว้และยังไม่ได้จัดเป็นระบบ
อาจจะกระจายอยู่ในแต่ละฝ่ายของบริษัท ซึ่งฝ่ายที่เป็นเจ้าของข้อมูลจะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ แต่ไม่สามารถทำให้ทั้งองค์กรเห็นภาพรวมได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ Big Data อย่างแท้จริง
การเปลี่ยนมาสู่ระบบฐานข้อมูลแบบคลาวด์ ที่บริษัท JE DUNN กำลังทำอยู่นั้น ทำให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายทำให้สามารถเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำกัด และมีต้นทุนต่ำ
อีกทั้งผู้จัดการโครงการสามารถมองเห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งในเรื่อง คุณภาพ ความปลอดภัย บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ
ทำให้การประเมินความเสี่ยงและประสิทธิภาพการทำงานทำได้ง่ายขึ้น สามารถป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ซึ่งนำไปสู่การประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
นอกจากนี้ ข้อมูลจากภายนอกก็มีความสำคัญเช่นกัน อย่างเช่น รายงานสภาพอากาศ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นข้อมูลทำให้สามารถชะลอการก่อสร้างโครงการออกไปได้ ก่อนที่จะเสียค่าใช้จ่ายไป แต่ด้วยการบันทึกผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงของสภาพอากาศ
และการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการประเมินที่ถูกต้องมากขึ้นในแต่ละโครงการ ซึ่งสำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่อาจจะใช้เวลาหลายปีในการก่อสร้าง
ควรจะต้องมีการพิจารณา ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งต่างก็มีผลกระทบต่อต้นทุนด้านแรงงานและวัสดุ
ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า เครื่องมือดิจิทัล ได้เข้ามาช่วยทั้งในเรื่องต้นทุน วัสดุ และเวลา และจะทำให้สามารถพลิกโฉมอุตสาหกรรมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้
นอกจากนี้ การเก็บข้อมูล การแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลที่สร้างขึ้นในกลุ่มเหล่านี้ จะช่วยทำให้ทุกคนได้รับข้อมูลเดียวกัน
ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง และการใช้ข้อมูลควบคู่ไปกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ข้อมูลผ่านระบบคลาวด์นั้น
ทำให้ลดระยะเวลา และลดความผิดพลาดในการก่อสร้างได้ ทำให้บริษัทได้กำไรเพิ่มขึ้นได้ในที่สุด
การพัฒนาที่น่าตื่นเต้นของ Visualization นั่นคือ เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) ซึ่งทำให้ผู้ใช้ อย่างเช่นลูกค้า ไม่ต้องเดินสำรวจในอาคารก่อสร้างเอง เพียงแค่ยืนที่สถานที่ก่อสร้างที่กำลังเริ่มก่อสร้าง ก็จะสามารถเห็นภาพโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ผ่านทางชุดอุปกรณ์สำหรับดูภาพ AR นั้นได้ โดยเทคโนโลยีนี้ได้มีการทดลองใช้มาแล้วช่วงหนึ่ง และเร็วๆ นี้ น่าจะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ เช่น แพลตฟอร์ม BIM
ภายในปี 2030 คาดว่าตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลกจะเติบโตขึ้น 85% จนมีมูลค่าถึง 15.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมาก ทั้งในเรื่องการจัดการแรงงานให้เพียงพอ และการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพการทำงาน
โดยแนวโน้มการก่อก่อสร้าง จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และซับซ้อนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นที่การเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ Big Data ยังถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมาก สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ หากความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยี ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในอีก 5 ปีข้างหน้าทั้ง Big Data ผสานการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
จะสามารถปรับเปลี่ยนทั้งกระบวนการในการก่อสร้าง และรูปแบบการทำธุรกิจการก่อสร้างได้โดยสิ้นเชิง
บริษัทที่สามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อสร้างนวัตกรรมในการก่อสร้างจะยิ่งเติบโตขึ้น
จะทำให้บริษัทก่อสร้างที่ไร้ประสิทธิภาพ ไม่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ จะมีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะแข่งขันในตลาดไม่ได้
และต้องออกจากอุตสาหกรรมไปในที่สุด
อ้างอิงจาก
https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2016/04/19/how-big-data-and-analytics-are-transforming-the-construction-industry/#6f75714933fc
——————
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
24 มีนาคม 2560
www.เศรษฐพงค์.com
——————-
หากท่านสนใจความรู้ด้านดิจิทัล
เข้าร่วมกับเราและทักเข้ามาที่
LINE id : @march4g