[vc_row][vc_column][vc_column_text]
ทุกครั้งที่อ่านบทความรีวิวโครงการอสังหาริมทรัพย์ หรือแค่เห็นภาพโฆษณาโปรโมทโครงการ จะเห็นประโยคบอกระยะทาง “เพียง 100 เมตรจากสถานี BTS” หรือ “600 เมตรเท่านั้นถึงศูนย์การค้า” เกิดคำถามขึ้นในใจไหมคะ? 100 เมตรมันแค่ไหน? ไกลไหม? แล้ว 600 เมตรล่ะ? สำหรับบทความนี้ P2M มีคำตอบให้คำถามนี้ของเพื่อนๆค่ะ
มนุษย์เรานั้น โดยปกติเมื่อเห็นตัวเลข 100 200 300 จะเกิดการเปรียบเทียบขึ้นในใจ และตัดสินความมากน้อย,ใหญ่เล็ก,เยอะหรือไม่เยอะ จากประสบการณ์ส่วนตัว หรือความเคยชินที่ได้ทำเป็นประจำ แน่นอนว่าทำให้แต่ละคนนั้น มีระยะที่บอกว่าเท่านี้แหละ “ใกล้” และ เท่านี้แหละ “ไกล” ต่างกัน
คุณอาจเคยเห็น Content กล่าวถึงความแต่งต่างระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันไปจนกระทั่งการรับรู้ในเรื่องต่าง ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก NESELY เพิ่มเติม >> https://goo.gl/rVuPUZ
และอีกหนึ่งความแตกต่างที่ดูจะเกี่ยวข้องกับบทความนี้ที่เห็นได้ชัดเจน คือการเดินชอปปิ้งระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
มีคนบอกว่าผู้หญิงเราเดินชอปปิ้ง 1 ครั้งเป็นระยะทางไกลถึง 2 กิโลเมตรเลยทีเดียว งั้นระยะทางที่น้อยกว่านี้จะนับว่าใกล้ได้ไหม? เราศึกษางานวิจัย และบทความอื่นๆ ที่สามารถอ้างอิงเป็นมาตรฐานบอกได้ว่าระยะทางที่เหมาะสมที่คนเราสามารถเดินได้นั้นอยู่ที่กี่เมตร จากทั้ง 3 งานวิจัยต่อไปนี้ค่ะ
1. หนังสือ Planning and Urban Design Standards By American planning association เป็นหนังสือที่รวมมาตรฐานการออกแบบเมือง ระยะทางเดิน, ทางเท้า, ป้ายรถประจำทาง, และมาตรฐานอื่น ๆ ในการออกแบบเมือง โดยสมาคมผังเมืองประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า
“Maximum Block length requirements 300 - 600 feet / 91.4 - 182.9 meter” หมายความว่าเมืองที่ดีระยะห่างระหว่าง Block จะมีระยะไม่เกิน 91. - 182.9 เมตรเท่านั้น
เพิ่มเติม >> https://goo.gl/YiF5AW
2. งานวิจัยจากเรื่อง HUMAN TRANSIT โดย Jarrett Walker ท่านเป็น ศาตราจารย์ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองและพื้นที่เปลี่ยนถ่าย ทั้งพื้นที่เปลี่ยนถ่ายระบบขนส่งมวลชน รวมไปถึง พื้นที่เปลี่ยนถ่ายระหว่างอาคาร บอกว่า
“If you have to choose a single walking distance standard for all situations, the most commonly cited standard is 400m or 1/4 mi. Europe tends to be comfortable with slightly longer distances” หมายความว่า หากต้องเลือกมาตรฐานในระยะทางในการเดินเท้า ระยะ 400 เมตร เป็นระยะที่สบายและเข้ากับคนยุโรป
แต่
“Although the common standard is 400m or 1/4 mi, we all know that this cannot possibly be a hard boundary” แม้ว่าระยะ 400 เมตรจะเป็นมาตราฐานทั่วไปที่เรารู้กันดี แต่มันก็ไม่ใช่กฎที่เราจะต้องยอมรับทุกครั้ง
เพิ่มเติม >> https://goo.gl/PCV37q
3. งานวิจัย โครงการ Good Walk เมืองเดินได้ เมืองเดินดี จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง Urban Design & Development Center (UDDC) กล่าวถึงการสำรวจพฤติกรรมการเดินของคนกรุงเทพ จากจำนวน 1,111 คน ทั้งเขตกรุงเทพชั้นใน และย่านชานเมืองผู้หญิงและผู้ชายในช่วงอายุ 10 - 70 ปี พบว่าระยะทางเฉลี่ย ไกลที่สุดของคนกรุงเทพฯ พอใจที่จะเดินเท้าไปยังสถานที่ต่างๆคือ 797.6 เมตร คิดเป็นเวลาประมาณ 9.97 นาที
เพิ่มเติม >> https://goo.gl/L0j8G4
จากทั้ง 3 งานวิจัย จะกล่าวถึงระยะทางเดินเฉลี่ยที่ไม่เท่ากัน 182 เมตร , 400 เมตร และ 797 เมตร ซึ่งข้อสังเกตคือ ในงานวิจัยทุกชิ้น จะไม่ได้เจาะจงว่ามันเป็นกฎ ว่าจะต้องระยะนี้ คือเหมาะสม หรือเป็นมาตราที่ต้องปฎิบัติตาม โดยเฉพาะ งานวิจัยจากโครงการ Goodwalk จะเห็นชุดข้อมูลเฉลี่ยระยะทางเดินเท้าที่แตกต่างกันของคนในแต่ละเมือง กรุงเทพฯ 797.6 เมตร, ญี่ปุ่น 820 เมตร, อเมริกา 805 เมตร, ฮ่องกง 600 เมตร หมายความว่า ระยะที่มนุษย์เรารับรู้หรือสามารถเดินไปถึงสถานที่ต่างๆ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมให้น่าเดินมากขึ้นหรือน้อยลงด้วยกัน เช่น
-
การเดินในที่มีสิ่งกีดขวาง
-
การเดินในที่มีร่มเงา ที่บังแดด บังฝน
-
การเดินในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
-
การเดินบนทางเท้าที่สกปรก มีขยะมูลฝอย
-
การเดินบนทางเท้าที่เป็นหลุมบ่อ ไม่ราบเรียบ
เป็นต้น
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
ดังนั้นเวลาเพื่อน ๆ อ่านบทความ หรือรีวิววิเคราะห์โครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ อาจมีตัวเลขในใจเท่านั้น ที่เป็นเกณฑ์สร้างระยะโดยปกติที่บอกว่าตัวเราเองเดินไหว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่ย่านนั้น ๆ สภาพแวดล้อมฟุตบาธกว้างหรือแคบ ฟุตบาธที่กว้างมาก ๆ อาจจะทำให้เดินสบาย แต่ในทางกลับกัน ถ้ากว้างมากจนสามารถตั้งรถเข็นได้ ฟุตบาธก็จะถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมย่อม ๆ ให้แม่ค้าพ่อค้ามาตั้งร้านขายของทำธุรกิจได้ หรือถ้าถูกจัดระเบียบแล้วทางเท้าที่กว้างมากๆ มักเป็นทางเท้าที่ไม่มีร่มเงาของต้นไม้ ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศไทยสักเท่าไหร่นัก ยิ่งร้อนก็จะทำให้คุณ“อยากเดิน” หรือมีระยะที่เดินไหวน้อยลง หรือทางเดินฟุตบาธที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เวลาเดินจะต้องเลือกกระเบื้องหากเยียบลงไปผิดน้ำระเบิดเลอะขา หรือตลอดทางเท้าอยู่ในย่านที่มีร้านค้าร้านอาหาร หรือต้องเดินผ่านร้านขายของ ความรู้สึกจะเหมือนกับเวลาที่ผู้หญิงเดินชอปปิ้ง ไม่กี่อึดใจก็ถึง เดินครู่ก็เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตรแล้วเพราะ สิ่งที่เรากำลังจดจ่ออยู่นั้นไม่ใช่การเดินเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย แต่จะเป็นข้าวของ ร้านค้าร้านอาหารที่อยู่ตลอดทางเท้ามากกว่า
สำหรับระยะเดินไหวของแต่ละคนนั้น เป็นระยะที่ไม่เท่ากัน คุณอาจจะต้องไปลองเดินด้วยตัวเองเพื่อบอกว่า ระยะเท่านี้แหละ เป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับฉันแล้ว แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น P2M มีตัวอย่างระยะทางเดินเท้าที่เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะต้องเคยไปเดินแน่ ๆ ย่านสำหรับวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย “สยาม”
[/vc_column_text][vc_column_text]ในบทความหน้าเราจะพาไปเก็บข้อมูลระยะทางเดิน และสภาพความน่าเดินของถนนและซอยต่างๆ เลือกซอยที่เป็นที่จับตาของเหล่าผู้พัฒนาในวงการอสังหาฯ ให้คุณได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]