[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”12019″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text]Welcome October ค่ะ เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีกันแล้วนะคะ สำหรับวงการอสังหาฯบ้านเราจะคึกคัก หรือมีแบรนด์ไหน? จัดโปรโมชั่นเด็ดๆอัดแคปเปญแน่นๆอีกหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูกันค่ะ แต่ที่ไม่ต้องรอและมีกระแสข่าวให้เห็นกันเรื่อยๆ “มาแน่ ตุลาคม 60 นี้” กับบัตรแมงมุม หรือตั๋วร่วม นั้นเอง มีเพื่อนๆนักลงทุนบางท่านต้องเคยได้ยินแล้วแน่ๆ สำหรับใครยังไม่รู้จัก บทความนี้ P2M พามาทำความรู้จัก “ระบบตั๋วร่วม” ให้ดีมากยิ่งขึ้นค่ะ
อาจจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับบ้านเรานะคะ ในการเริ่มใช้ระบบตั๋วร่วมเป็นครั้งแรก แต่จริงๆแล้วต่างประเทศทั้งในยุโรปและเอเชีย ประเทศไหนๆเค้าก็ใช้ระบบนี้กันทั้งหมด ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไป แต่หลักการทำงานของระบบ”ตั๋วร่วม”เนี่ยเหมือนๆกันนะคะ เรายกตัวอย่างตั๋วร่วมของประเทศอื่นๆมาให้เพื่อนๆรู้จักกันในบทความนี้ด้วยค่ะ ..ตอนนี้มาเริ่มกันที่การทำความรู้จัก “บัตรแมงมุม” และ “ระบบตั๋วร่วม” กันก่อนเนอะ..[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/3″][vc_column_text]ระบบตั๋วร่วม คือ ระบบที่ให้เพื่อนๆใช้บริการขนส่งสาธารณะได้ทุกรูปแบบทั้งรถโดยสารสาธารณะ(รถเมล์) รถไฟฟ้า เรือ รวมถึงการชำระค่าผ่านทางพิเศษต่างๆ(ทางด่วน – มอเตอร์เวย์) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือจะนำไปใช้กับบริการนอกภาคขนส่ง พวกร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ที่จอดจอดรถ อย่างตอนนี้ก็มีข่าวแววๆมาว่า อยู่ในช่วงการเจรจากับกลุ่มซีพี เซ็นทรัลและเดอะมอลล์[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”2/3″][vc_single_image image=”12021″ img_size=”full” alignment=”center”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]อย่างที่กล่าวไปในช่วงต้นนะคะ จริงๆแล้วระบบตั๋วร่วมเนี่ย นานาประเทศเค้าก็ใช้กันมานานแล้ว แม้ว่าในบ้านเราจะดูเป็นของใหม่ ที่ทุกคนกำลังรอคอยการเปิดตัวและใช้อย่างเป็นทางการก็ตาม (สนข.เค้าว่า ตุลานี้มาแน่)
สำหรับบทความนี้ P2M เลยขอยกตัวอย่าง ซัก 5-6 ประเทศที่มีการใช้ระบบตั๋วร่วมให้เพื่อนที่ได้จิตนาการและนึกภาพตามว่าถ้าบ้านเราได้ใช้จริงๆ Feeling จะประมาณไหน ..มาเริ่มกันที่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ในแถบเอเชียกันก่อนดีกว่าเนอะ เชื่อว่าต้องมีเพื่อนๆหลายคนเคยไปแล้วต้องติดใจกับระบบระเบียบเมืองของที่นี่แน่ๆ ประเทศเล็กๆที่มีระบบคมนาคมที่สะดวกสบายอย่างสิงคโปร์ กับบัตร EZ Link[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]
สิงคโปร์ EZ Link
[/vc_column_text][vc_column_text]บัตร EZ Link สิงคโปร์ 2017 บัตรสารพัดประโยชน์ สามารถใช้ขึ้นรถไฟฟ้า MRT, รถเมล์, Taxi และใช้ซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ คล้ายๆจะเป็นบัตรเงินสดด้วย เราสามารถหาซื้อ บัตร EZ Link สิงคโปร์ ได้ที่ Passenger Service ในสถานีรถไฟ MRT ทุกสถานี ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 300 บาท เป็นบัตรครบวงจร เงินสดไม่ต้องพกก็อยู่สิงคโปร์ได้สะดวกสบาย แถมยังมีส่วนลดต่างๆจากร้านสะดวกซื้อเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรอีกด้วยนะคะ สุดท้ายหากเดินทางในสิงคโปร์แล้วเงินในบัตรเหลือก็สามารถเอาไว้ซื้อของได้ค่ะ[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]
ญี่ปุ่น Suica
[/vc_column_text][vc_column_text]มาต่อกันที่ประเทศผู้เชี่ยวชาญเรื่องขนส่งระบบราง เป็นที่ปรึกษาและต้นแบบให้ประเทศไทยนำการใช้ระบบขนส่งมวลชนมาใช้ อย่างประเทศญี่ปุ่นกันค่ะ ค่อนข้างมั่นใจว่าทุกคนต้องรู้จักหรือไม่ก็ต้องเคยได้ยินแน่ๆ สำหรับบัตร “JR” ชื่อเต็มๆที่ของเค้าชื่อ “Japan Rail Pass” แต่เดี๋ยวก่อน บัตร JR ที่ทุกคนได้ยินเนี่ยแม้จะใช้กับขนส่งมวลชนได้หลายสาย แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมจนเรียกได้ว่าเป็นระบบตั๋วร่วมนะคะ ที่ดูจะใกล้เคียงมากกว่า คือบัตร Suica
บัตร Suica ใช้ได้กับรถไฟทุกสายทุกบริษัทในโตเกียว ไม่ใช่เฉพาะแต่รถ JR หากเพื่อนๆมีแผนมาโตเกียวอีกก็สามารถเก็บบัตรไว้ใช้ในคราวต่อไป เพราะบัตรจะหมดอายุภายใน 10 ปี บัตร Suica ไม่ใช่แค่ทำให้การซื้อตั๋วรถไฟง่ายขึ้นเท่านั้น เพื่อนๆยังสามารถใช้จ่ายอย่างอื่นได้ด้วย เช่นซื้อขนมหรือเครื่องดื่มบนรถไฟ ใช้ซื้อของในร้านค้า หรือเครื่องขายของต่างๆ ที่มีป้ายติดไว้ว่ารับบัตร Suica หรือแม้กระทั่ง TAXI บางคันก็รับบัตร Suica เช่นกัน[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]
เกาหลี T-money
[/vc_column_text][vc_column_text]ยังอยู่ในเอเชียค่ะ มาต่อกันที่ประเทศเกาหลีกับบัตร บัตรทีมันนี่ (T-Money) สามารถใช้จ่ายค่าบริการขนส่งสาธารณะได้ทั้งหมด รวมไปถึงแท็กซี่ ซึ่งหากใช้บัตรทีมันนี่แตะจ่ายแทนเงินสด ก็จะลดค่าบริการทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดินลง นอกจากนี้บัตรทีมันนี่ยังใช้แทนเงินสดเพื่อจับจ่ายซื้อของในมินิมาร์ทได้อีกด้วยทั้ง 7-11, CU (Family Mart) และ GS25 หาซื้อบัตรทีมันนี่ได้ที่ไหน? สามารถซื้อได้ที่ร้านมินิมาร์ทต่างๆา หรือจะซื้อกที่สถานีรถไฟใต้ดินก็ได้ ที่สำคัญบัตรไม่มีหมดอายุใช้ได้ตลอด ตอนนี้ชื่อใหม่ของ ทีมันนี่เปลี่ยนจากบัตรทีมันนีแบบธรรมดานี้ มาเป็นบัตร Seoul City Pass Plus หลักที่เปลี่ยนก็คือผู้ใช้งานจะได้สิทธิประโยชน์ดีๆ เพิ่มขึ้นด้วยเพิ่มขึ้นนั้นเอง เป็นการ Update ให้ทันสมัยและก้าวทันโลกยุคใหม่อยู่ตลอดเวลาค่ะ
[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]
ฮ่องกง Octopus Card
[/vc_column_text][vc_column_text]เมืองสุดท้ายในแทบเอเชียค่ะ พามาเที่ยวที่เกาะฮ่องกงกับบัตร Octopus Card (ปลาหมึกยักษ์) เปิดตัวใช้งานเมื่อปี 1997 (นับๆแล้วก็ 20 ปีแล้วค่ะที่ฮ่องกงเค้าเริ่มใช้ระบบตั๋วร่วม) ที่ต้องเป็นปลาหมึกยักษ์ก็เพราะ เค้าอยากให้มองว่าเป็นการเดินทางที่ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืนอะไรแบบนี้ และยังพ้องเสียงกันระหว่าง หนวดปลาหมึก 8 หนวดกับทิศทั้ง 8 ซึ่งเป็นเลขมงคลของคนจีนเค้า เราเลยจะเห็นสัญลักษณ์ อินฟินิตี้ ในตัวบัตรเป็นโลโก้ด้วยค่ะ แน่นอนว่าบัตร Octopus Card ก็สามาถใช้เดินทางกับระบบขนส่งมวนชลที่เป็นส่วนกลางทั้งหมดในฮ่องกงร่วมทั้งร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่จอดรถ และบริการอื่นๆ สำหรับเจ้าตัวบัตร Octopus เนี่ยนะคะถูกใช้ในฮ่องกงมากกว่า 20 ล้านใบในการหมุนเวียนซึ่งนับเป็นเกือบ 3 เท่าของประชากรในฮ่องกง โดยถูกใช้คิดเป็น 95% ของประชากรในเกาะสร้างรายได้กว่า 12 ล้านรายการต่อวันนับเป็นมูลค่า 130 ล้านUSHongKong[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]
แคนาดา Compass Card
[/vc_column_text][vc_column_text]มากันแทบอเมริกากันบ้างกับประเทศแคนาดา เราจะเพื่อนๆไปที่เมืองแวนคูเวอร์ เพื่อทำความรู้กับบัตร Compass Card จากบริษัทขนส่งของแคนาดา Trans Link เป็นบัตรเดียวใช้ได้กับทุกระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งรถประจำทาง (Bus) รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน (Train, Skytrain) และเรือประจำทาง (SeaBus) และ West Coast Eperss
Compass Card เป็นบัตรโดยสารแบบเติมเงินที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ในการขนส่งใน Vancouver ใช้งานสะดวกและปลอดภัย ซึ่งในอนาคตบัตร Compass Card ก็จะพัฒนาให้สามารถใช้งานเป็นทั้งของขวัญ บัตรเครดิตและเปิดใช้งานได้ผ่านสมาร์ทโฟนอีกด้วย[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text]
อังกฤษ Oyster Card
[/vc_column_text][vc_column_text]และมาจบกันที่แทบยุโรป เมืองลอนดอนของประเทศอังกฤษ กับบัตร Oyster Card รถไฟใต้ดิน ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองของลอนดอนเลยก็ว่าได้ Oyster Card เป็นบัตรที่จำเป็นสำหรับการเดินทางในลอนดอน มากนะคะเพราะใช้ขึ้นได้ทั้ง Underground/Overground/DLR ไปจนถึงรถเมล์ และสามารถขึ้นรถโดยสารสองชั้นได้อีกด้วย แล้วทำไม? ต้องเป็น Oyster (หอยนางรม) เพราะเป็นการเล่นความหมายที่แสดงให้เห็นความปลอดภัยและมีค่าจากเปลือกหอยและไข่มุก ซึ่งปากแม่น้ำเทมส์ที่เป็นแม่น้ำสายสำคัญของลอนดอนก็เป็นที่เพาะเลี้ยงหอยนางรมมาแต่รุ่นบรรพบุรุษก็เป็นโชว์ความเป็นลอนดอนเข้าไปด้วยนั้นเอง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”12022″ img_size=”full” alignment=”center”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
แล้วบัตรแมงมุมละ? ใช้อะไรได้บ้าง?
พื้นฐานของระบบตั๋วร่วมคือต้องใช้เดินทางในระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้ทุกสาย และอาจเพิ่มเรื่องการจับจ่ายสินค้าตามร้านสะดวกซื้อได้ด้วย แต่บัตรแมงมุมเราทำได้มากกว่านั้น คือรองรับสวัสดิการแห่งรัฐ National E-Payment คือรัฐจะแจกบัตรเป็นสวัสดิการให้กับผู้รายน้อย 1.3 ล้านใบ และมีการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 3 ระบบด้วยกัน คือ รถเมล์ รถไฟ และรถไฟฟ้า (โดยมีวงเงินไม่เกิน 500บาท/เดือน/ระบบ)[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_column_text]พูดถึงบัตรแมงมุมมาตั้งนาน..แล้ว..
เกี่ยวข้องกับอสังหาฯยังไงนะ?
ต้องบอกว่าอย่างที่ทราบกับดีค่ะ การโตของคอนโดบ้านเราเนี่ยโตขึ้นตามขนตามสายรถไฟฟ้า การรู้จักระบบของการเดินทางก็จะทำให้วิเคราะห์ตลาดคอนโดได้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นความจริงที่เหล่านักลงทุนทราบกันดีว่า คอนโดที่ติดเส้น BTS หรือสุขุมวิทจะได้ผลตอบแทนดีกว่าคอนโดทำเลที่ติดเส้นใต้ดินหรือ MRT มาจากการทำงานต่างระบบกัน เพราะ BST เป็น Radius Line คือเป็นเส้นทางรัศมีวิ่งจากนอกเมืองเข้าสู่กลางใจเมือง ในขณะที่ MRT วิ่งเป็น Circle Line คือเป็นวิ่งวงกลมรับคนจากแหล่งชมชุนรอบๆ แล้วส่งต่อให้ Radius Line อย่าง BTS ซึ่งต่อไปหากมีการทำงานที่เป็นระบบศูนย์กลางอย่างบัตรแมงมุมเข้ามาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอย่างรถไฟฟ้า ก็จะทำให้พื้นที่เมืองโดยรอบพัฒนาอย่างเป็นระบบและเสมอภาคกันมากขึ้น แต่ก็ต้องมองในเรื่องของความร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนด้วยนะคะ เพราะตอนนี้ BTS เองก็บริหารโดยเอกชน ส่วน MRT อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงคมนาคม หากประเทศเราทำให้ทำให้ระบบขนส่งมวลชนรวมกันได้ ข้อดีที่ตามก็จะมีอีกมากเหมือนประเทศอื่นๆที่ยกตัวอย่างไปแล้วในข้างต้นบทความทั้ง ญี่ปุ่น ฮ่องกงและลอนดอน ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ..แน่นอนว่า P2M Teamก็จะเอามา Update กันเรื่อยๆฝากติดตามด้วยนะคะ :)[/vc_column_text][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”12013″ img_size=”full” alignment=”center” css_animation=”flipInX”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][/vc_column][/vc_row]