อนาคต “กรุงเทพฯ” เมืองแห่งระบบราง

  • Post author:
You are currently viewing อนาคต “กรุงเทพฯ” เมืองแห่งระบบราง

อนาคต “กรุงเทพฯ” เมืองแห่งระบบราง

เวลาก็ผ่านไปไวเหมือนกระพริบตา นับตั้งแต่วันแรกที่กลุ่มบีทีเอส ได้เปิดตัวรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2542 หรือ เมื่อ 18 ปีก่อน วันนี้คนกรุงเทพฯ ก็คุ้นเคยกับรถไฟฟ้าจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน นอกจากเรื่องการเดินทางแล้ว และวิถีชีวิตประจำวันของคนเมืองที่เปลี่ยนไปแล้ว รถไฟฟ้ายังเปลี่ยนโฉมหน้าของกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ทันสมัย เปลี่ยนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวรถไฟฟ้าให้เบ่งบาน อย่างไม่น่าเชื่อว่า เมื่อ 20 ปีก่อน ที่รัฐมีแนวคิดจะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าผู้คนยุคนั้นใครๆ ก็รังเกียจรถไฟฟ้า เพราะกลัวเหตุผลเรื่องมลพิษ ฝุ่นควัน เสียงรบกวนใต้สถานี หลายคนขายบ้านทิ้งไปซื้อบ้านใหม่ เพื่อหนีรถไฟฟ้าก็มี

แต่ปัจจุบันนี้ ทุกคนรู้แล้วว่า อสังหาริมทรัพย์แนวรถไฟฟ้ามีมูลค่า และเป็นทรัพย์สินที่มูลค่าเพิ่มขึ้นเองได้ต่อเนื่อง โดยที่เจ้าของไม่ต้องเข้าไปบริหารใดๆเลยก็ตาม เพราะรถไฟฟ้าช่วยให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เดินทางได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และดีต่อสุขภาพจิตกว่าการต้องทนขับรถจากบ้านย่านชานเมืองเข้ามาทำงานใจกลางเมือง

เดิมทีกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลานานถึง 18 ปี จึงจะเกิดรถไฟฟ้ารวม 5 สาย ที่เราใช้บริการกันอยู่ในปัจจุบัน แต่จากนี้ รถไฟฟ้าอีก 7 สายใหม่ ก็จะเปิดให้บริการเพิ่มเติมภายใน 5 ปีนี้เท่านั้น นั่นหมายความว่ากรุงเทพฯ จะพลิกโฉมไปจากปัจจุบันอย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่

และนี่คือ โฉมหน้าของรถไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 12 สาย ที่จะครอบคลุมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้

กทม. = กรุงเทพมหานครหมายเหตุ

รฟม. = การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ร.ฟ.ท. = การรถไฟแห่งประเทศไทย

BTS = บริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC

BEM = บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)