ปี’ 61 สินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่เติบโต 3-4% – หวั่นหนี้ครัวเรือนทำ NPL พุ่ง

  • Post author:
You are currently viewing ปี’ 61 สินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่เติบโต 3-4% – หวั่นหนี้ครัวเรือนทำ NPL พุ่ง

ผอ.ธนาคารออมสิน “ชาติชาย พยุหนาวีชัย” คาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ปี 2561 เติบโต 3-4%  พร้อมหวั่นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงส่งผล NPL พุ่งต่อเนื่อง

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวในงานสัมมนาทิศทางอสังหาริมทรัพย์ปี 61 หัวข้อ “แนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัย” ที่จัดโดยบริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด ว่า จากความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีต่อเนื่อง   ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยดอกเบี้ยที่ต่ำ ประกอบกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งมีการแข่งขันกันสูงทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้นด้วย  ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อความมั่นใจและทำให้การตัดสินใจซื้อกลับมาดีขึ้น ส่งผลกระตุ้นต่อความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยคาดว่าในปีนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่น่าจะเติบโต 3-4% คาดจะมีสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งระบบอยู่ที่ 5-6แสนล้านบาท ในส่วนของธนาคารออมสินได้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นสินเชื่อปล่อยใหม่ในปี2561 ที่ 8.5 หมื่นล้านบาท โดย ณ สิ้นปี 2560 ธนาคารออมสินมีพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท

ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยลูกค้ารายย่อยในปี2561 น่าจะอยู่ที่  3.67 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6 -7% เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีอยู่ที่ 3.45 ล้านล้านบาท การเติบโตนี้เป็นผลมาจากการโอนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงมีการเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง

 

 

“ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 2561 คาดการณ์ ยังคงที่อยู่ ณ ระดับ 1.50% เนื่องจากยังเป็นระดับ เหมาะสมที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและกระตุ้น การลงทุนในระยะต่อไป” นายชาติชาย กล่าว พร้อมกับระบุว่า หากมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค กล่าวคือ ทุก 1% ของดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นจะส่งผลต่อภาระการจ่ายค่างวดเพิ่มขึ้น 5 %

NPL สินเชื่อ Pre-finance และ Post-finance

 

นายชาติชาย ยังให้ความเห็นว่ายังคงมี จากภาวะหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง หรือคิดเป็น 80% ของจีดีพีทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าในภาพรวมยังคงเป็นปัญหาที่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากลูกค้ามีการก่อภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มของสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Post-finance) นั้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 3.23%  ในขณะที่ NPL สินเชื่อผู้ประกอบการ (Pre-finance) ค่อนข้าง ทรงตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

 

จากแนวโน้มNPL สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Post-finance) ปรับตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง สถาบันการเงินต้องแก้ไขปัญหาด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการอสังหาฯช่วยในการตรวจสอบลูกค้าก่อนทำการกู้ เพื่อทำให้ได้ลูกค้าที่มีคุณภาพ

 

preeya tednok

ปุ่น ปรียา เทศนอก ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว prop2morrow ผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อสารมวลชนด้านอสังหาริมทรัพย์มากว่า 20 ปี