[vc_row][vc_column][vc_column_text]
จากโควิด 19 ถึงการปฎิวัติไปสู่จุดเริ่มต้นของ “New Ecology”
กับ เจมส์ ดูอัน ในวันที่นักพัฒนาอสังหาฯ กลายเป็น ClimateTech Pioneer เพื่อส่งมอบคุณภาพอากาศและพลังงาน
โควิด-19 และผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
สำหรับเฟรเกรนท์ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในด้านสุขภาพของลูกบ้านที่พักอาศัยในโครงการของบริษัทและพนักงาน รวมไปกระทั่งถึงคนงานก่อสร้างภายในโครงการเป็นอันดับแรก และเราก็พยายามประคับประคองความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด นับแต่ช่วงต้นของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยเริ่มดำเนินมาตรการคัดกรองและรณรงค์อย่างเคร่งครัด จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือเพื่อดูแลลูกบ้านและพนักงาน ลูกจ้างทุกคน
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 บริษัทบริหารอาคารในเครือของบริษัทได้รับแจ้งกรณีลูกบ้านในโครงการ Circle Living Prototype ติดเชื้อโควิด 19 บริษัทบริหารฯ จึงได้ดำเนินการประสานกรมควบคุมโรคเพื่อเข้ามาคัดกรองและดำเนินการประเมินกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้นเพื่อคัดกรองลูกบ้านและพนักงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ารับการคัดกรองและตรวจเชื้อโดยทันที นอกจากนี้บริษัทยังได้ประกาศแจ้งแก่ลูกบ้านและผู้เกี่ยวข้องให้ทราบทั่วกัน โดยมิได้ปิดบังเพื่อให้ทุกคนเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์และได้ยกระดับมาตรการโดยการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั้งที่โครงการและสำนักงานของบริษัท กักตัวพนักงานกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวัง ซึ่งรวมทั้งตัวผมเองก็เข้าข่ายด้วยเช่นกัน เพราะได้ไปใช้บริการห้องออกกำลังกายที่โครงการ
นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดหาสถานที่สนับสนุนการกักตัวและพักผ่อนระหว่างปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อบรรเทาสถานการณ์ ตลอดจนได้เริ่มดำเนินนโยบาย Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงต่อทั้งพนักงาน และการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยยังคงส่งมอบบริการตามมาตรฐานและดำเนินโครงการของบริษัทต่อไปตามพันธกิจ สำหรับผมถือว่าผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญให้เราได้มีโอกาสปฏิรูปอะไรบางอย่างในองค์กรอีกครั้ง เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องของชีวิต ครอบครัว การงาน เศรษฐกิจมันเชื่อมโยงมีผลกระทบถึงกันหมด
หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทยังได้แบ่งบันและส่งมอบประสบการณ์การบริหารจัดการวิกฤติเพื่อควบคุมความเสี่ยง ตลอดจนแนวทางการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้
ให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดอื่นๆ ที่ติดต่อมาขอศึกษาดูงาน ตลอดจนอาคารสำนักงานที่ทำการของบริษัท เพราะว่าในวิกฤติเช่นนี้ เราควรจะช่วยกันแบ่งปันประสบการณ์และสิ่งที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้ามีท่านใดสนใจขอข้อมูล สามารถติอต่อมาได้ที่บริษัทบริหารอาคารในเครือของเรา ที่โทร. 095 965 9642
มีมุมมองต่อโรคระบาดจากเชื้อไวรัส โควิด-19 อย่างไร
โรคระบาดไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับมนุษย์ จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โลกของเรามีโรคระบาดเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง เช่น เมื่อปี ค.ศ.1820 (พ.ศ.2363) ที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตไปมากมายในกรุงเทพ หรือเมื่อปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ.2463) ซึ่งเกิดการระบาดที่เรียกว่าไข้หวัดใหญ่สเปนซึ่งร้ายแรง และส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตไปราว 50,000,000 คนทั่วโลก
ถึงอย่างไร โรคระบาดก็เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตคือมนุษย์มีความใกล้ชิดกับสัตว์มากขึ้น ในความคิดเห็นของผมจึงไม่อยากให้เพ่งโทษไปที่ใครคนใดคนหนึ่งว่าเป็นต้นเหตุ แต่ควรให้ความสำคัญกับการร่วมแรงร่วมใจกันรับมือและเตรียมการแก้ไขปัญหาไปข้างหน้ามากกว่า
วิกฤติในครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ย้ำเตือนมนุษย์ถึงความสำคัญของสุขภาพพื้นฐานในการดำรงชีวิต ความสำคัญของครอบครัวและเพื่อนฝูง ความเปราะบางของชีวิต ผลกระทบและความเชื่อมโยงกันของคนในสังคม ตลอดจนดึงให้เราหันกลับมาทบทวนว่าอะไรคือสิ่งที่มีความหมายสำหรับชีวิต สุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็เป็นเพียงจิ๊กซอว์เล็กๆ ส่วนหนึ่งในกลไกธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่และระบบนิเวศอันซับซ้อน ในขณะเดียวกัน มองอีกมุมหนึ่ง ผมว่าเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสดีที่ทำให้เราได้สัมผัสรับรู้ถึงพลังของความช่วยเหลือ และความร่วมแรงร่วมใจสามัคคีของผู้คนในสังคมในยามที่เกิดความยากลำบาก ผมเชื่อว่าถ้าเราอดทนและรับมือกับเหตุการณ์ด้วยความสงบและมีสติ สุดท้ายเราจะผ่านมันไปได้
หลังจากนี้ โลกของเราจะยังคงเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาวะโลกร้อน ปัญหา PM 2.5 โรคระบาดซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน ควรจะต้องเตรียมตัวเพื่อตอบสนองต่อเรื่องเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า
[/vc_column_text][vc_column_text]
โควิด 19 และทิศทางการดำเนินธุรกิจอสังหา
ในฐานะของภาคเอกชน
[/vc_column_text][vc_column_text]ในวันที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์ที่ตัวเลขผู้ป่วยโรคระบาดกำลังเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ ปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อแตะทะลุหนึ่งพันคนแล้ว และเราจำเป็นต้องร่วมมือกันชะลอการแพร่กระจายเพื่อลดความสูญเสียและผลกระทบให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะช่วยกันได้ ผมรู้สึกขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจทุกภาคส่วนและหน่วยรบแนวหน้าอย่างกระทรวงและบุคลากรทางด้านการสาธารณสุขทุกท่านที่ดำเนินการจัดการและรับมือกับการแพร่กระจายของโรคระบาดอย่างแข็งขัน รวมทั้งมีการออกมาตรการยับยั้งการแพร่กระจายโรค ตลอดจนเยียวยาและดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ทั้งด้านการเงินและการคลัง ในฐานะของประชาชนก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกหน่วยงานและบริษัทพร้อมจะสนับสนุนการดำเนินนโยบายตลอดจนมาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการต่อสู้กับวิกฤติในครั้งนี้ต่อไป
สำหรับผมในส่วนของภาคธุรกิจ นอกจากร่วมมือในการแก้ไขปัญหาวิกฤติในปัจจุบัน ผมก็พยายามมองต่อไปว่าในฐานะภาคเอกชนจะมีส่วนร่วมในป้องกันแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร และประเด็นที่ผมคำนึงถึงมากที่สุดในขณะนี้คือการฟื้นฟูทั้งในด้านคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศหลังจากนี้ เนื่องจากผมทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 พื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ผมว่าวิกฤติโควิด 19 นี้เป็นจุดเริ่มต้นให้เราหันกลับมาทบทวนเรื่องคุณภาพอากาศในการดำรงชีวิตของพวกเราทุกวันนี้ และเป็นโอกาสที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านการพักอาศัย การใช้พื้นที่ภายในอาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ พวกเราอาศัยอยู่
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าหากประเทศไทยสามารถที่จะเร่งยกระดับมาตรฐานที่รับประกันคุณภาพความปลอดภัยของสภาวะอากาศได้เป็นประเทศแรกหลังวิกฤติโรคระบาดนี้ จะเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของประชาชน ตลอดจนลูกหลานของพวกเราเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเรียกความเชื่อมั่นในด้านการท่องเที่ยวและการลงทุนกลับมาได้โดยเร็ว
ผมอยากให้ภาครัฐบาลเริ่มตั้งคำถามแล้วว่าเราควรจะสร้างสภาพแวดล้อมและรับประกันคุณภาพของอากาศเพื่ออนาคตของลูกหลานของเราในอีก 10 ปีข้างหน้าไว้อย่างไร ซึ่งเราต้องเริ่มต้นจากวันนี้ การสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานส่วนรวมอย่างสนามบิน รถไฟระบบราง ศูนย์ราชการ สถานที่สำคัญที่มีคนมารวมตัวกัน และที่สำคัญคือโรงเรียน ควรจะมีระบบที่เป็นพื้นฐานในการคัดกรองอากาศให้มีคุณภาพและเป็นระบบที่เชื่อถือได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ ลองนึกภาพดูนะครับว่าจะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถควบคุมสภาวะอากาศที่เราใช้ชีวิตกันอยู่ทุกวันนี้ให้ปราศจากส่วนเกินที่เป็นอันตรายอย่างฝุ่นละออง คาร์บอนไดออกไซด์ หรือแม้กระทั่งเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กเพียง 0.1 ไมครอน แล้วลูกหลานของเราจะได้เติบโตอย่างมีคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าปัจจุบัน
ภาคเอกชนเองก็สามารถจะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในสังคมตรงจุดนี้ด้วยเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้ว เป้าหมายของการทำธุรกิจก็คือการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม และถ้าสิ่งที่ธุรกิจมอบให้นั้นมีประโยชน์และมีคุณค่าในมุมมองของผู้บริโภค โปรดักส์นั้นก็จะได้รับการตอบรับจากตลาด เรื่องของผลตอบแทนนั้นเป็นเรื่องที่ตามมาทีหลัง แต่ผมก็ไม่ปฏิเสธนะว่าผลตอบแทนเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ
จริงๆ แล้ว ภาคส่วนอสังหาริมทรัพย์เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมคุณภาพและส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมนั้นให้เกิดขึ้นได้ ตลอดเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา ผมได้ศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมเพื่อที่จะเข้าใจว่าสภาวะอากาศแบบใดที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาวะอากาศที่ว่านี้ ผมขอเรียกนิยามมันในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสภาวะอากาศที่ไม่มีส่วนเกินและเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ซึ่งช่วยให้เราสามารถยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตภายในอาคารสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ โปรดักส์ที่ผมศึกษาเป็นระบบเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปรับสภาพอากาศที่ใช้ได้กับทั้งกับโรงเรียน ศูนย์สรรพสินค้า โรงแรม สำนักงาน ตลอดจนที่พักอาศัย ผมขอเรียกสั้นๆว่า ClimateTech แล้วกันนะครับ ซึ่งระบบที่ว่านี้มีค่าตัวเลขจากผลการทดสอบเป็นเครื่องชี้วัดที่ยืนยันถึงสภาวะอากาศที่มีคุณภาพได้อย่างชัดเจน ผมเชื่อว่า ระบบเกี่ยวกับ ClimateTech ที่กำลังพัฒนาอยู่นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการใช้ชีวิตของผู้คนหลังจากนี้[/vc_column_text][vc_column_text]
จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการพัฒนา
[/vc_column_text][vc_column_text]ในฐานะที่ผมเป็นนักธุรกิจที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย เติบโตมาจากเยาวราช และได้ก่อร่างสร้างตัวเพื่อให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีในด้านเศรษฐกิจ ผมรู้สึกขอบคุณโอกาสที่ได้รับจากสังคมที่ผมมาอาศัยอยู่นี้ เพราะสุดท้ายแล้ว ผมได้เรียนรู้ว่าการทำธุรกิจคือการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม แล้วสังคมจะตอบแทนเรากลับคืนมา
[/vc_column_text][vc_column_text]
[/vc_column_text][vc_column_text]ผมมองตัวเองเป็นนักพัฒนามากกว่าเป็นนักธุรกิจ แล้วเนื่องจากผมเป็นคนที่ชอบสร้างความฝันให้เกิดขึ้น และเป็นคนประเภทหยุดนิ่งไม่ได้ ในอดีต ผมเองก็มีเรื่องที่เคยผิดพลาดและผมก็น้อมรับมาเป็นบทเรียนและเรียนรู้เพื่อตั้งใจจะแก้ไข เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ผมเกิดคำถามระหว่างทบทวนตัวเองว่าในเมื่อผมได้รับโอกาสจากสังคมที่อยู่นี้จนมีพอกินพอใช้มาแล้ว เมื่อมาถึงเป้าหมายต่อไปของชีวิต ผมก็ควรจะสร้างอะไรเพื่อตอบแทนกลับคืนสู่สังคมต่อไป ประกอบกับผมได้แรงบันดาลใจจาก ส.ค.ส. พระราชทานปี 2547 ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราที่มีภาพระเบิดล้อมรอบประเทศไทยอยู่สี่ด้าน และข้อความว่าสามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทยอยู่ในขอบเขตประเทศไทย ซึ่งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงตีความว่าระเบิด 4 ลูกที่ล้อมอยู่หมายถึง วิกฤติสิ่งแวดล้อม วิกฤติสังคม วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง และพระองค์ได้ทรงพระราชทานแนวทางที่จะพ้นภัยไว้ให้ประชาชนคนไทยแล้ว นั่นก็คือหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้ยึดหลักพอมี พอกิน พอใช้ กลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านได้เตือนและแนะแนวทางแก้ไขวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นให้แก่คนไทยก่อนล่วงหน้ามานานตั้งแต่เมื่อสิบหกปีที่แล้ว
เรื่องของการเมือง เศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและภาพรวมระดับประเทศ แต่เรื่องวิกฤติสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าตัวเองมีกำลังพอที่จะมีส่วนร่วมผลักดันแก้ไขได้ จึงน้อมนำคำสอนและใส่ใจศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ
ด้วยสภาวะวิกฤติของโลกในปัจจุบันและสภาพแวดล้อมที่คุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ทั้งวิกฤติโลกร้อน ปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่น PM 2.5 ผมว่าปัญหาเหล่านี้เป็นความท้าทายของธุรกิจ จากข้อมูลที่ผมทราบ ในแต่ละปี ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบกว่า 60,000 คนจากรายงานในเว็บไซต์ worldlifeexpectancy.com ซึ่งอ้างตัวเลขจากองค์การอนามัยโลก ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีสถิติผู้เสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบกว่าปีละ 80,000 คน (แยกเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ประมาณ 10,000 – 30,000 คน) ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับสภาวะอากาศ เชื้อโรคและระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงและระบาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่วัคซีนป้องกันก็ต้องพัฒนาตามกันทุกปี เชื้อไวรัสพวกนี้มีวิวัฒนาการปรับตัวให้แข็งแกร่งและส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรงขึ้นได้รวดเร็วมาก จะเห็นว่าคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย มันส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตของคนเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะผู้พัฒนาโครงการ ผมจึงตั้งโจทย์ว่าเราจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้อย่างไร
อย่างที่เล่าไปครับ ส่วนตัวแล้ว ผมสนใจในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมของผู้คน เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ผมได้เริ่มศึกษาข้อมูลว่าสภาวะอากาศแบบใดที่เหมาะสมและมีประโยชน์ในการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ ผมลงทุนบินไปพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ทั่วโลกที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบที่จะสร้างสภาวะอากาศที่ผมสนใจศึกษาอยู่นี้ ผมมีโอกาสได้พูดคุย ค้นคว้า หาวิธีพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบที่ใช้ในการปรับสภาวะอากาศภายในอาคารและสิ่งปลูกสร้าง และผมยังได้ไปศึกษา Case Studies ของการใช้ระบบเกี่ยวกับ ClimateTech ที่ว่านี้จาก CEO ของบริษัทต่างๆ ทั่วทั้งยุโรป แล้วนำระบบที่ศึกษานี้มาพัฒนาและทดลองเพื่อใช้ในสภาวะอากาศที่เหมาะสมกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[/vc_column_text][vc_column_text]
การปฎิวัติเพื่อย้อนไปสู่จุดเริ่มต้นคืออะไร ?
[/vc_column_text][vc_column_text]
สถานการณ์ในตอนนี้ ช่วยตอกย้ำให้มนุษย์รู้ว่า เราต้องอยู่กับธรรมชาติ ทั้งในด้านที่เป็นคุณและเป็นโทษ เราหนี เราหลบเลี่ยง ธรรมชาติของธรรมชาติไม่ได้ ธรรมชาติมีวัฏจักร มีรอบเวลาของมัน เช่นเดียวกับไวรัสโควิด 19 ในตอนนี้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มนุษย์ได้เจอเหตุการณ์แบบนี้ และที่สำคัญเราเอาชนะหรือเปลี่ยนแปลงธรรมชาติไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้และควรทำมานานแล้วคือ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจ รู้จักและอยู่กับธรรมชาติให้สมดุลที่สุด ด้วยองค์ความรู้ ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะปรับสมดุลให้มนุษย์ได้อยู่กับธรรมชาติได้อย่างพอดี ธุรกิจที่ผมทำล้วนเกี่ยวกับธรรมชาติทั้งหมด ผมไม่สามารถปรับเปลี่ยนทุกอย่างได้ แต่ผมในฐานะนักพัฒนา ผมสามารถปฏิวัติบางสิ่งได้ เพื่อให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างลงตัว มันไม่ใช่แค่การสร้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ผมเลยจุดนั้นมาไกลแล้ว และนักพัฒนาในนาทีนี้ต้องทำมากกว่านั้น เราต้องไปให้ไกลกว่านั้น ไปในจุดที่เรียกได้ว่าคือการปฏิวัติ ปฏิวัติเพื่อย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นที่ธรรมชาติยังเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์
และผมเลือกที่จะเริ่มจาก “อากาศและพลังงาน”
ผมจะขอเล่าถึงเรื่องสภาวะอากาศต่อนะครับ จากที่ผมเริ่มศึกษาวิจัยเรื่องการควบคุมสภาวะอากาศมาตั้งแต่ 3-4 ปีที่ผ่านมาตามที่ได้เล่าไปก่อนหน้านี้ เรื่องสภาวะอากาศนี้แบ่งได้เป็นภายนอกและภายในอาคาร สภาวะอากาศภายนอกนั้นไม่สามารถควบคุมได้ แต่สภาวะอากาศภายในเป็นเรื่องที่เราสร้างได้
ขณะนี้บริษัทกำลังพัฒนาระบบเกี่ยวกับ ClimateTech ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตในที่พักอาศัย ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมหรือสภาวะอากาศตามที่ผมให้คำนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าไม่มีส่วนเกินและเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ ระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนาจนสามารถคัดกรองและควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ฝุ่น PM 2.5 เชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ค่าความชื้นที่เหมาะสมในการใช้ชีวิต และยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ โดยปกติแล้วเครื่องกรองอากาศทั่วไปที่พวกเราใช้กันจะกรองอากาศได้อยู่ในระดับอนุภาคที่ 2.5 ไมครอนหรือ PM 2.5 แต่รู้หรือไม่ว่าเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ มีขนาดเล็กกว่านั้นมาก ซึ่งแผ่นกรองปกติทั่วไปไม่สามารถกรองเชื้อโรคและแบคทีเรียขนาดเล็กเหล่านี้ได้ แต่ในเครื่องบินที่ได้มาตรฐานนั้น การกรองอากาศจะสามารถทำได้ละเอียดมากกว่านั้นด้วยแผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA: High-Efficiency-Particulate-Air) ซึ่งติดตั้งบนเครื่องบิน ทำให้สามารถคัดกรองฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กตั้งแต่ขนาด 0.5-1.0 ไมครอนได้ ดังนั้นผู้โดยสารจะได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ที่ไหลเวียนภายในเครื่องบิน ระบบกรองอากาศประสิทธิภาพสูงนี้สามารถคัดกรองฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็ก อาทิ แบคทีเรีย ฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า 95% เทียบเท่ากับมาตรฐานที่ใช้ภายในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล
ผมเริ่มนำระบบที่ช่วยปรับสมดุลอากาศที่ว่านี้มาทดลองวิจัยในห้องปฏิบัติการ และเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้สร้างบ้านตัวอย่างเพื่อทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งผลการทดสอบที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ ค่าชี้วัดต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณภาพทั้งหมด ปัจจุบัน ระบบเกี่ยวกับ ClimateTech ที่พัฒนาขึ้นของบริษัทนี้ถือเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาให้ใช้งานได้เหมาะสมในสภาพแวดล้อมและสภาวะอากาศแบบร้อนชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ได้เป็นแห่งแรกและเป็นเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการรับรอง ซึ่งพอผลการทดลองผ่าน ตอนนี้หลายๆ มหาวิทยาลัยในยุโรปได้ขอข้อมูลผลการทดสอบของบ้านตัวอย่างที่บริษัท ไปเป็น Case Study ในการเรียนการสอนอยู่
เพราะคุณภาพชีวิตในที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเรา บริษัทจึงให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ในการทดลองเป็นอย่างมาก ในเรื่องของสุขสภาวะในการพักอาศัย เรามีการทดลองควบคุมความชื้นในที่อยู่อาศัยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติถ้าคุณไปอยู่ในที่อยู่อาศัยในโซนยุโรปที่ต้องเปิดระบบเครื่องทำความร้อนหรือ Heater และมีความชื้นน้อยเกินไป คุณจะรู้สึกว่าว่าอากาศมันแห้งมีความอึดอัด ไม่สบายตัว คุณจะมีอาการผิวแห้ง ปากแตก ระคายเคืองตา และหายใจลำบาก ทางแก้ก็เลยต้องหาน้ำซักหนึ่งแก้วมาตั้งในห้อง เพื่อช่วยปรับความชื้นให้อยู่ในระดับสมดุล ในทางกลับกันในประเทศแถบเอเชียที่มีอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ที่อยู่อาศัยแทบทุกแห่งก็จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศหรือระบบแอร์ เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยเย็นขึ้นและมีอากาศที่ชื้นขึ้น โดยที่พวกเราไม่รู้เลยว่า การที่มีความชื้นในห้องมากเกินไปก็มีผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน เชื้อจุลินทรีย์ เชื้อราต่างๆ ที่เรามองไม่เห็นสามารถเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น เห็นได้จากตัวอย่างง่ายๆก็คือขนมปังที่วางอยู่ในห้องที่มีความชื้นมากเกินไปก็จะขึ้นราได้ง่าย เพราะขนมปังโดยตัวมันเองไม่มีความชื้น แต่สามารถดูดความชื้นจากอากาศที่มีเชื้อราเกาะอาศัยอยู่ได้ดี ขนมปังจึงขึ้นราง่าย เชื้อโรคต่างๆ ที่ปะปนอยู่ในอากาศเหล่านี้เองเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหอบหืดและภูมิแพ้ตามมา
จากผลการศึกษา ระดับมาตรฐานของความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม หรือ Comfort range จะอยู่ในช่วงระหว่าง 30-60% แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยคนไทยค่อนข้างคุ้นชินกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นอยู่แล้ว ดังนั้นระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่ 60-65% จึงถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
นอกจากนี้เรายังศึกษาครอบคลุมไปถึงปริมาณของระดับออกซิเจนที่หมุนเวียนในอากาศที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์ว่าควรควบคุมให้อยู่ในระดับ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อ1 ชั่วโมงต่อ 1 คน ซึ่งระบบเกี่ยวกับ ClimateTech ที่พัฒนานี้สามารถเติมปริมาณออกซิเจนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั้นได้ ที่สำคัญคือปรับเติมตามปริมาณคนที่อยู่ในห้องนั้นด้วย ปริมาณน้ำและออกซิเจนของเซลล์ในร่างกายที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อการทำงานของสมอง ผิวพรรณ การทำงานของอวัยวะภายใน รวมทั้งการขับสารพิษออกจากร่างกาย
สุดท้ายในเรื่องของการประหยัดพลังงาน โดยทั่วไปแล้วการคำนวณปริมาณความเย็นหรือ Cooling load ของระบบปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยในประเทศไทย วิศวกรจะคำนวณอยู่ที่ระดับประมาณ 800-1,200 BTU ต่อตารางเมตร แต่อย่างไรก็ตามด้วยนวัตกรรมและระบบเกี่ยวกับ ClimateTech ต่างๆภายในที่อยู่อาศัยที่เฟรเกรนท์พัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบการควบคุมอากาศ, ระบบการป้องกันความร้อนรอบทิศทาง และระบบการป้องกันการไหลเข้าออกของอากาศหรือ Air tightness system นั้นสามารถช่วยให้เราประหยัดพลังงานที่ใช้ในบ้านลงไปได้มากกว่า 80%
[/vc_column_text][vc_column_text]
ทิศทางและก้าวต่อไปของธุรกิจจากนักพัฒนาอสังหาสู่ ClimateTech Pioneer จะเป็นอย่างไรต่อไป
[/vc_column_text][vc_column_text]แนวคิดเรื่องการปฏิวัติไปสู่จุดเริ่มต้นด้วยนวัตกรรมที่ผมกำลังพัฒนาอยู่นี้ ผมหวังว่าจะช่วยสร้างบรรทัดฐานและเป็น New Normal ของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ในภาคสังคมที่จะต้องส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้พักอาศัย ให้สังคมของเราเป็นสังคมที่เข้าใจ รู้จักและอาศัยอยู่กับธรรมชาติให้ได้อย่างสมดุลที่สุด ผมอยากให้ผู้คนในสังคมและลูกหลานของเราได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพอากาศดีๆ เหมือนกับได้ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างประเทศ New Zealand ไม่ใช่อยู่กับ PM 2.5 แบบทุกวันนี้ เพราะผมรู้ดีว่าผมเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไม่ได้ในทันที แต่ผมเริ่มจากตัวเอง โดยเริ่มจากโปรดักส์ของโครงการได้
[/vc_column_text][vc_column_text]ล่าสุดที่บริษัทกำลังเริ่มนำนวัตกรรมเกี่ยวกับ ClimateTech ที่ค้นคว้าพัฒนาอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 3 ปีจนได้รับการรับรองนี้มาใช้ติดตั้งในห้องชุดบางส่วนของโครงการเซอร์เคิล สุขุมวิท 31 ด้วยหวังว่าการส่งมอบห้องชุดโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของ New Normal ในอุตสาหกรรมจากการยกระดับคุณภาพของอากาศ เพื่อส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้าในโครงการของเรา
ทั้งหมดที่เล่ามานี้คือความตั้งใจของผมที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศของที่พักอาศัยในประเทศไทย ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ และผมยินดีแบ่งปันองค์ความรู้จากการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับ ClimateTech ที่ได้ศึกษามาให้กับทุกภาคส่วนที่สนใจ
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]