จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และมาตรการของภาครัฐในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ การจำกัดการเดินทางและการปิดสถานที่สุ่มเสียงต่างๆ คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง โดยภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงของประเทศคู่ค้าและการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Disruption) ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทาง ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
นอกจากนั้น การบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มหดตัวลงจากการงดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ส่วนกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มที่พึ่งพารายได้ครัวเรือนภาคเกษตร ยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ตลอดจนราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนในระดับหนึ่ง
นับแต่สถานการการแพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจจำนวนมาก หนึ่งในนั้น คือธุรกิจจำหน่ายสินค้า และให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่ง ซ่อมแซม อาคาร บ้าน และที่อยู่แบบครบวงจร (One Stop Shopping Home Center) โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดคือ บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า “โฮมโปร” (HomePro) จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 โดยเป็นการร่วมลงทุนของ 2 บิ๊กอสังหาฯ บมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และ บมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ บริษัทฯ เริ่มต้นเปิดดำเนินการที่สาขารังสิตในเดือนกันยายน 2539 เป็นแห่งแรก และปัจจุบันทั้งสองบริษัทอสังหาฯดังกล่าว ก็ถือหุ้น “โฮมโปร” ในสัดส่วน 30.23% และ 19.87% (ตามลำดับ)
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลต่อ“โฮมโปร” และบริษัทย่อยมีรายได้รวมและกำไรสุทธิเป็น 15,333.29 ล้านบาท และ 1,266.52 ล้านบาท (ตามลำดับ) ลดลง 7.37 % และ10.80% จากปีก่อนหน้า พร้อมกับได้เร่งดำเนินมาตรการด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสถานะทางการเงินอย่างรัดกุม ส่งผลให้งบการเงิน สภาพคล่องทางการเงิน และภาวะหนี้ของบริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงนักจากสถานการณ์นี้
จากข้อมูลที่ บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ ได้อธิบายต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า บริษัทฯ ได้ให้ ความร่วมมือและดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการและคำสั่งของหน่วยงานรัฐอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยถือสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้าเป็นสำคัญ เราได้ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและดำเนินการตามมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้า ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ก็ได้เร่งดำเนินมาตรการด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสถานะทางการเงินอย่างรัดกุม ส่งผลให้งบการเงิน สภาพคล่องทางการเงิน และภาวะหนี้ของบริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงนักจากสถานการณ์นี้
การบริหารความเสี่ยง : ตั้งแต่ช่วงต้นของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางพิเศษเพื่อเฝ้าระวังและบริหารความเสี่ยง ตลอดจนคณะกรรมการย่อยสำหรับแต่ละธุรกิจคณะกรรมการเหล่านี้ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประเมินผลกระทบต่อธุรกิจในด้านต่างๆ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ยกระดับมาตรการและระบบการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับความต้องการจับจ่ายซื้อหาสินค้าและบริการของบริษัทฯ ผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วยตลอดระยะเวลาตั้งแต่ช่วงต้นของการแพร่ระบาดดังกล่าว
การดูแลพนักงานและลูกค้า : บริษัทฯ ดำเนินมาตรการป้องกันและรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานต่างๆ อาทิ จำกัดการเดินทาง การประชุมแบบพบหน้า การจัดสรรเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น การเว้นระยะห่างทั้งในสาขาและสำนักงานใหญ่การทำงานจากที่พักอาศัย การจัดตั้งจุดล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื่อไวรัส การตรวจคัดกรองอุณหภูมิพนักงานลูกค้า และผู้มาติดต่อ การลดการสัมผัสในพื้นที่สำนักงานและสาขา เป็นต้น
การบริหารห่วงโซ่อุปทานและคลังสินค้า :โฮมโปรมีส่วนแบ่งของยอดขายสินค้าที่จัดหาจากต่างประเทศทั้งหมดประมาณ 10% โดยมีสัดส่วนที่มาจากประเทศจีนประมาณ 6-8% เท่านั้น ซึ่งบริษัทฯ ได้สำรองสินค้าในส่วนนี้ก่อนหน้าช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนตามปกติทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการปิดทำการของคู่ค้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นอกจากนั้น ณ ปัจจุบัน คู่ค้าของบริษัทฯ บางส่วนได้กลับมาเริ่มดำเนินการผลิตตามปกติแล้ว ความเสี่ยงด้านความพร้อมของสินค้าจึงถือว่าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ยอดขาย – อุปสงค์ และการปิดสาขาชั่วคราว
บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการคงความต่อเนื่องในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าควบคู่ไปกับการรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งพนักงานและลูกค้า เราได้ปิดทำการสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ ตามคำสั่งของหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้
- ประเทศไทย สืบเนื่องจากคำสั่งให้สถานประกอบการปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้โฮมโปรในประเทศไทย ปิดสาขาทั้งสิ้น 66 สาขา เมกาโฮม ปิ ดสาขาทั้งสิ้น 7 สาขา นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังต้องเลื่อนการจัดกิจกรรม HomePro Expo ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ออกไปอีกด้วย
- ประเทศมาเลเซีย โฮมโปรในประเทศมาเลเซียปิดสาขาทั้งหมด 6 สาขา ตามคำสั่งของรัฐบาลประเทศมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคำสั่งดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 เมษายน 2563 หากไม่มีการประกาศขยายระยะเวลาบังคับใช้คำสั่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เองมีมาตรการรองรับการถ่ายเทอุปสงค์ของลูกค้าไปยังช่องทางออนไลน์และคอลเซ็นเตอร์การประชาสัมพันธ์และกระตุ้นยอดขาย ทั้งทางเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุนซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการจับจ่ายใช้สอย เช่น Shop4You, Click & Collect, Samedayและ Next-day Delivery เป็นต้น
สำหรับบริการ Shop4You, Click & Collect และการดำเนินงานในสาขาที่ยังเปิดทำการตามปกติ บริษัทฯปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ อาทิ การจำกัดจำนวนผู้เข้าพื้นที่ในช่วงเวลาเดียวกัน การรักษาความสะอาดในจุดต่างๆโดยเฉพาะจุด checkouts ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทาง self-checkout ให้กับลูกค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ตลอดจนการจำกัดจำนวนชั่วโมงที่เปิดดำเนินการ โดยปฏิบัติตามคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกเคหะสถานนอกเวลาที่กำหนดของรัฐบาล (Curfew Order) อย่างเคร่งครัด
ผลการดำเนินงาน การวางแผนทางการเงิน และการบริหารสภาพคล่อง
บริษัทฯมีวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง และมีวงเงินกู้ประเภทตั๋วแลกเงินระยะสั้น ซึ่งบริษัทฯได้เบิกถอนเงินกู้ตามระยะเวลาใช้คืนภายใน 1, 2, 3, และ 6 เดือน หรือแล้วแต่ระยะเวลาที่ตกลงกัน เพื่อรักษาสภาพคล่องในระหว่างที่สาขาปิดดำเนินการบางส่วน บริษัทฯ ยืนยันว่าบริษัทฯ ยังสามารถรักษาความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และปฏิบัติตามเงื่อนไขตามสัญญากู้ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อทุน
บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการขยายอัตราการทำกำไรขั้นต้นผ่านการคัดสรรและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากอย่างยิ่งขึ้น
ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่สามารถคาดเดาระยะเวลาที่แน่นอนของการบังคับใช้มาตรการของภาครัฐ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้นั้น ส่งผลให้บริษัทฯ ยังไม่สามารถกำหนดเป้าหมายผลการดำเนินการสำหรับปี 2563 ได้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประเมินผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นตามความรุนแรงในระดับต่างๆ และดำเนินมาตรการเพื่อรักษาขีดความสามารถในการทำกำไร อาทิ การควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ค่าธารณูปโภค ค่าจ้างล่วงเวลา ค่าตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับผลงาน (Commission) และค่าใช้จ่ายพนักงานภายนอก (Outsource) เป็นต้น การบริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไป รวมถึงบริหารกระแสเงินสด เงินทุนหมุนเวียน และสภาพคล่องทางการเงินอย่างรัดกุม ส่งผลให้อัตราการทำกำไรขั้นต้นยังคงเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
ในไตรมาสที่ 1 บริษัทฯ จึงยังไม่ได้มีการขยายสาขาใหม่ โดย ณ ไตรมาสที่1 ของปี 2563 บริษัทฯ มีสาขาโฮมโปร 84 สาขา โฮมโปรเอส 9 สาขา เมกาโฮม 14 สาขาและโฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย 6 สาขาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 บริษัทฯ ได้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า โดยรับรู้ผลกระทบสะสมของการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติโดยปรังปรุงกำไรสะสม ณ วันที่ 1มกราคม 2563 และไม่ปรับย้อนหลังงบการเงินปี ก่อนที่แสดงเปรียบเทียบ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2
บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายได้รวมและกำไรสุทธิเป็นจำนวน 15,333.29 ล้านบาท และ 1,266.52 ล้านบาท (ตามลำดับ) ลดลง 7.37 % และ10.80% จากปีก่อนหน้า สำหรับยอดขายได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆและคำสั่งให้สถานประกอบการปิดดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ดังนี้
ตารางที่ 1: สรุปข้อมูลทางการเงินสำหรับงวดประจำ 3 เดือนปี 2563 และ 2562บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส1 ปี2563 เท่ากับ 1,266.52 ล้านบาท ลดลง 153.32 ล้านบาทหรือ 10.80% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักดังนี้
1.รายได้รวม จำนวน 15,333.29 ล้านบาท ลดลง 1,219.72 ล้านบาท หรือ 7.37 % ซึ่งประกอบไปด้วย
- รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งเป็นรายได้ที่ประกอบไปด้วยรายได้จากการขายสินค้า และรายได้จากการให้บริการลูกค้า Home Service รวมจำนวน 14,545.58 ล้านบาท ลดลง 31 ล้านบาท หรือ 6.14 % เป็นผลมาจากการลดลงของยอดขายสาขาเดิมของธุรกิจโฮมโปร เมกาโฮมและโฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดสาขาในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 และสาขาในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างไรก็ตามรายได้จากการให้บริการลูกค้า Home Service ยังคงมีการเติบโต
- รายได้ค่าเช่า จำนวน 00 ล้านบาท ลดลง 178.82 ล้านบาท หรือ 31.89% เป็ นผลมาจากการปิดสาขาและศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ โดยบริษัทฯ ได้ลดค่าเช่าให้แก่ผู้เช่า และการยกเลิกการจัดกิจกรรม HomePro Expo ในไตรมาสที่ 1
- รายได้อื่น จำนวน 71 ล้านบาท ลดลง 89.60 ล้านบาท หรือ 18.09 % โดยเป็ นผลมาจากการลดลงของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับคู่ค้าในสาขา และการยกเลิกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในงาน HomePro Expo
- กำไรขั้นต้นจากการขายสินค้าและการให้บริการลูกค้า Home Service รวมจำนวน 3,739.21 ล้านบาทลดลง 130.48 ล้านบาท หรือ 3.37% เมื่อเทียบกับปี ก่อน สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 24.97% ในปีก่อน มาอยู่ที่ 25.71% โดยเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนของส่วนผสมสินค้ามีไว้เพื่อขายทั้งกลุ่มสินค้าทั่วไป และกลุ่มสินค้า Direct Sourcing การเพิ่มประสิทธิภาพวางแผนการจัดซื้อสินค้าของธุรกิจโฮมโปร เมกา โฮม และโฮมโปรที่ประเทศมาเลเซีย และการยกเลิกการจัดกิจกรรม HomePro Expo ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 แม้ว่าบริษัทฯ มีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นก็ตาม
- ต้นทุนค่าเช่าและค่าบริการ จำนวน 150.00 ล้านบาท ลดลง 9.63 ล้านบาท หรือ 6.04% ปัจจัยหลักของการลดลงเป็นผลจากการลดลงของค่าเสื่อมราคา ซึ่งได้รวมผลกระทบของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่16 เรื่องสัญญาเช่าแล้ว รวมทั้งการลดลงของค่าสาธารณูปโภคของธุรกิจบริหารพื้นที่ให้เช่าที่ปิดตามมาตรการของภาครัฐ
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 2,709.73 ล้านบาท ลดลง 198.56 ล้านบาท หรือ 6.83% เมื่อเทียบกับปี ก่อน ปัจจัยหลักของการลดลงที่เป็นผลมาจากการยกเลิกการจัดกิจกรรม HomePro Expo ค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามยอดขาย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่าเช่าผันแปร ตลอดจนค่าเช่าประเภทคงที่ที่ลดลงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า ซึ่งถูกจัดประเภทใหม่ไปรวมอยู่ในกลุ่มค่าใช้ จ่ายทางการเงินแทน ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อยอดขายมีการปรับลดลงจาก 18.77 % ในปี ก่อน มาอยู่ที่ 18.63 %
- ค่าใช้จ่ายทางการเงิน จำนวน 115.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 7.23 ล้านบาท หรือ 6.70% จากผลกระทบของดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า ในขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายลดลงจากการช าระหนี้ของหุ้นกู้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562
- ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จำนวน 285.60 ล้านบาท ลดลง 44.61 ล้านบาท หรือ 13.51% เมื่อเปรียบเทียบกับปี ก่อน เป็นผลจากกำไรก่อนหักภาษีที่ลดลง