NCH เตรียมปรับแผนจัดเก็บค่าบริหารชุมชน รับมือหลังวิกฤติโควิด-19

  • Post author:
You are currently viewing NCH เตรียมปรับแผนจัดเก็บค่าบริหารชุมชน รับมือหลังวิกฤติโควิด-19
เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่งฯเผยหลังวิกฤติโควิด-19 การใช้ชีวิตอยู่อาศัยจะเปลี่ยนไปในรูปแบบ New Normal เตรียมปรับแผนเสริมมาตรการเข้มจัดเก็บค่าบริหารชุมชนเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% เพิ่มสุขอนามัย ภายใต้ 5 องค์ประกอบหลัก
นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์
นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH เปิดเผยว่า จากการที่ไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 แพร่ระบาดในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้รายได้ในแต่ละครัวเรือนลดลง  และหลายรายมีการทำงานที่บ้าน (Work From Home :WFH) มากขึ้น ทำให้กลุ่มดังกล่าวมีโอกาสเห็นสิ่งต่างๆในการใช้ชีวิตในบ้านและชุมชนมากขึ้น ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลง และเห็นพฤติกรรมว่า ทุกคนกลัวติดเชื้อ ส่งผลให้ที่ผ่านมามีการเดินทางลดลง แต่หลังจากรัฐบาลมีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์ทุกคนก็กล้าเดินทางมากขึ้น แต่ยังมีการปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ภาครัฐกำหนด สังคมมีการแบ่งปันมากขึ้น ในด้านการอยู่อาศัย ทุกคนจะดูแลในด้านความสะอาดของสุขภาพตนเองและภายในบ้านมากขึ้น

โดยปัจจุบันบริษัทฯมีโครงการในเครือที่บริหารอยู่ประมาณ 20 ชุมชน ซึ่งอยู่ในพื้นที่กทม.-ปริมณฑล   โดยในช่วงที่โควิด-19 ระบาด บริษัทฯได้ติดต่อซัพพลายเออร์ นำสินค้าอุปโภค บริโภค มาขายในชุมชนในราคาถูก รวมไปถึงมีการจัดเว้นระยะห่าง การตั้งจุดคัดกรองเข้า-ออก ในชุมชน มีการประชาสัมพันธ์ในการดูแลสุขภาพที่ถูกสุขหลักอนามัย เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาชุมชนของบริษัทฯไม่มีผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด

เชื่อว่าในอนาคตการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปในรูปแบบ New Normal ทุกคน ทุกชุมชนจะสร้างมาตรฐานใหม่ มีการดูแลตนเองอย่างถูกสุขอนามัยมากขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งในการบริหารชุมชนอาจจะมีการปรับการจัดเก็บเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างคนมาดูแลความสะอาดภายในชุมชนมากขึ้น เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความสุขอย่างถูกหลักอนามัย จากเดิมมีการเก็บค่าใช้จ่ายบริหารชุมชนประมาณ 600-1,200 บาท/เดือน ขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงการ  ซึ่งการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ลูกบ้านในชุมชนมีความเข้าใจ หากเป็นโครงการใหม่ของบริษัทฯก็มีการเตรียมรับมือในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน  โดยบริษัทฯอยู่ในระหว่างการวางแผนงานแล้ว หากรัฐบาลมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทั้งหมดแล้ว จึงจะสามารถคำนวณค่าใช้ได้ทั้งหมดว่าต้องใช้ประมาณเท่าไหร่ จึงจะสามารถจัดเก็บในแต่ละครัวเรือนของแต่ละชุมชนได้ถูกต้อง  รวมไปถึงขอความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นมาช่วยฉีดพ่นทำความสะอาดทุกเดือนด้วย

“ความสำคัญของการเลือกซื้อบ้าน ที่ผ่านมาผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับ ราคา แบบบ้าน การตรวจสอบเรื่องคุณภาพบ้าน ด้านตกแต่งความสวยงาม รูปลักษณ์แบบบ้าน ของแถมที่โครงการต่างสรรหามาให้เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อบ้าน เป็นการเลือกซื้อบ้านยังไม่ตรงจุดสำคัญที่แท้จริง ซึ่งขอให้คำนึงถึงปัจจัยหลัก เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยในโครงการ  หลังการอยู่อาศัยในระยะยาวด้านการดูแลเรื่องบริหารชุมชนจะสำคัญที่สุด” นายรังสรรค์ กล่าว

นายรังสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นับจากนี้ไปการบริหารชุมชน ต้องมีบทบาทมีมาตรการเข้มเพื่อรับรูปแบบชีวิตที่เปลี่ยนไปในสภาวะความปกติใหม่หลังโควิด-19  ผู้ซื้อบ้านควรใส่ใจและเห็นถึงบริบทใหม่ของการเลือกซื้อบ้าน ควรที่จะตรวจสอบโครงการก่อนการตัดสินใจ ข้อกำหนดบังคับ ต่างๆของนิติบุคคลบ้านจัดสรร การมีกฏกติกาของการอยู่อาศัยร่วมกันในสังคมน่าอยู่ ตลอดชีวิตการอยู่อาศัย อย่างมีคุณภาพ ต้องมองเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ด้านสุขอนามัยชุมชน สภาพแวดล้อมสาธารณูปโภค อย่างมีมาตรการดูแลที่เข้มงวด มองถึงการลงทุนเรื่องบ้านที่คุ้มค่าของเรา ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด มีมาตรการชี้วัด ด้านการโจรกรรมต้องเป็นศูนย์ รู้สึกถึงความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในบ้าน และภายนอกบ้าน มีเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ Real Time ตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรทีมงาน รปภ การรักษาความปลอดภัย การตรวจตามจุดโดยรอบของโครงการ พร้อมติดตามข้อมูลในทุกวัน

ทั้งนี้รูปแบบและพฤติกรรมของการใช้ชีวิตในชุมชนถูกเปลี่ยนหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิธีการใช้ชีวิต New Normal  ด้าน Health Tech เรียนรู้เทคโนโลยีสุขภาพ Lifestyle มีการเว้นระยะทิ้งห่างทางสังคม Social Distancing  การทำกิจกรรมชุมชน ต้องผ่านช่องทางออนไลน์ การเลือกซื้อบ้านที่ตอบโจทย์เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสังคมการอยู่ร่วมกันในโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อชีวิตครอบครัวที่ดีขึ้น จะต้องเป็นเรื่องการดูแล และบริการส่งมอบความสุขในชุมชนไปพร้อมกับสังคมน่าอยู่  5 องค์ประกอบของการมีบริหารชุมชนที่ดี

1.ให้ความสำคัญด้านสภาพแวดล้อมชุมชน จัดการภูมิทัศน์ให้คงสภาพสวยงาม ดั่งเดิม การดูแลรักษาความสะอาดของชุมชม ในทุกวัน มีการจัดระบบ เฝ้าระมัดระวังไม่ให้มีการรวมกลุ่ม มีกิจกรรม ต้องเว้นระยะห่างของชุมชนในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก มีการจัดโซนนิ่ง การสัญจรโครงการ  การลดการสัมผัสของชุมชน

2.ระบบรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินในโครงการ มีจุดคัดกรอง บุคคลเข้าออกอย่างเข้มงวด เคร่งครัดให้สวมใส่หน้ากากออกจากบ้าน จัดระบบความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง มีจุดตรวจคัดกรอง บุคคลภายนอกที่มาติดต่อกับเจ้าของบ้าน ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายการเข้าโครงการ รับเรื่องตรวจสอบ รายงานผลแต่ละวัน ในแต่ละจุด ตอบรับการปรับวิถีชีวิตผู้อยู่อาศัย ลูกบ้านต้องทำงานที่บ้านมากขึ้น บริการกรณีมีการสั่งของ สั่งอาหาร การตรวจสอบมีมาตรการอย่างคุมเข้ม บนพื้นฐานสร้างความสุขให้กับผู้อยู่อาศัย

3.ด้านบูรณาการความรู้สุขลักษณะอนามัยชุมชน ความสะอาดในโครงการชุมชน/ระบบการดูแลรักษาความสะอาดในชุมชน ลดความหนาแน่น  มีการเว้นระยะห่างทางชุมชน การใช้พื้นที่ส่วนรวมของสาธารณะ ไม่ให้มีการรวมกลุ่มในชุมชน  อาทิ สวน สโมสรคลับเฮ้าส์ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส  อีกทั้งข้อปฏิบัติของร้านค้า ต้องให้ความร่วมมือกับชุมชน

4.การดูแลรักษาสาธารณูปโภค ส่วนกลางโครงการ การคัดแยกขยะชุมชน การรณรงค์ใช้ถุงผ้า ศูนย์การแจ้งซ่อมบูรณะทางเท้า ท่อระบายน้ำ สวนสาธารณะ คลับเฮ้าส์ ให้คงสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา และคงสภาพดั่งเดิม

5.ให้ความสำคัญการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร การคัดสรรทีมงานอย่างมีองค์ความรู้ และจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีจิตใจอาสาเสียสละ ทุ่มเท เพื่อคัดสรรเข้ามาช่วยดูแล ทีมงานการจัดเก็บค่าส่วนกลาง บัญชีเงินกองทุนมีรูปแบบการใช้จ่ายตรวจรับอย่างเป็นระบบ  ทีมงานมีการสื่อสารให้กับสมาชิกโครงการได้รับทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีชุมชน

toppercool

CEO,Prop2morrow Blogger อสังหาฯ , นักการตลาดดิจิตัล สาย Content marketing