สนข. Kick Off แผนโลจิสติกส์เชื่อมพื้นที่ EEC – SEC จ.ระนอง

  • Post author:
You are currently viewing สนข. Kick Off แผนโลจิสติกส์เชื่อมพื้นที่ EEC – SEC จ.ระนอง

สนข. ลุยแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้  จังหวัดระนอง

 

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้  จังหวัดระนองพื้นที่ศึกษา : พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  เมื่อวันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2563 ณ ห้อง Dockyards โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีทส์ ศรีราชา – แหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีนายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคตะวันออก และสื่อมวลชนที่มีความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาฯ ดังกล่าว

นโยบายการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทําให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว จากผลการพัฒนาดังกล่าว ก่อให้เกิดปริมาณการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งจะเป็นการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกจากพื้นที่ EEC ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม BIMSTEC กลุ่มตะวันออกกลางและยุโรป และด้วยประเทศไทยตั้งอยู่บนศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน มีชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทร 2 ด้าน ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน จึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทําเลที่ตั้งดังกล่าวเพื่อนํามาพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเล เพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นอกเหนือจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน

ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ได้เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยให้เร่งผลักดันแผนงานเบื้องต้น ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ พร้อมนี้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบผล

การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ที่ให้เร่งรัดดําเนินการออกแบบและก่อสร้างระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟจังหวัดชุมพร เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้พิจารณาและเห็นความจำเป็นเร่งด่วนและประสิทธิภาพของการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ที่สามารถตอบสนองการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต

ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผน Logistics ที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้าน Logistics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ที่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล (อ่าวไทย -อันดามัน)

สำหรับการจัดสัมมนาฯในครั้งนี้ มีประเด็นในการสัมมนาเกี่ยวข้องกับสภาพการขนส่งและปัญหาในการขนส่งสินค้าบริเวณพื้นที่ศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ในปัจจุบันและศักยภาพ ข้อจำกัดและโอกาสในการพัฒนาท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน รวมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาการขนส่งเชื่อมโยงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและส่งเสริมจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบและเส้นทางที่เสนอแนะ นอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจและรับฟังประเด็นปัญหาสภาพการขนส่งสินค้าบริเวณพื้นที่ศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) และเพื่อระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบโครงข่ายการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง ให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพข้อเท็จจริงซึ่งโครงการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จ.ระนอง ที่ สนข. จะมานำเสนอในวันนี้เป็นอีกงานหนึ่งที่จะช่วยยกระดับประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ให้เกิดการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลด้านอันดามัน รองรับปริมาณการขนส่งสินค้า

จากการพัฒนาพื้นที่ EEC ในการส่งออกและนำเข้าสินค้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC และพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ SEC ของประเทศไทยต่อไป

preeya tednok

ปุ่น ปรียา เทศนอก ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว prop2morrow ผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อสารมวลชนด้านอสังหาริมทรัพย์มากว่า 20 ปี