[vc_row][vc_column][vc_column_text]
[/vc_column_text][vc_column_text]บางรัก ในอดีตเป็นท่าเทียบเรือที่สำคัญ มีเรือขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ต้องมาจอดเทียบท่า เป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญจุดแลกเปลี่ยนสินค้าจากนานาชาติที่หมุนเวียนกันเข้ามา ทำให้บางรัก เป็นชุมชมที่มีความพิเศษ มีควาหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ทั้งจากฝั่งตะวันตก และตะวันออก ทำให้มีความเป็นเอกลักณ์ของชุมชนที่มีความหลากหลาย
ชุมชนบางรัก แต่เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของ คนไทย ที่ประกอบอาชีพทำสวน ทำนา บริเวณ 2 ฝั่งคลองสีลม และตามแนวถนนสีลม ตั้งแต่ศาลาแดงไปจนถึงถนนเดโช และตั้งแต่ถนนประมวญไปถึงถนนเจริญกรุง ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่เป็นย่าน CBD ที่สำคัญ เป็นย่านออฟฟิศเกรดเอของเมืองกรุง
สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ประกาศให้ชาวจีนในกรุงรัตนโกสินทร์หยุดขยายตัวทางทิศใต้ไปตลาดน้อย และให้ชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานในย่านบางรัก ซึ่งชาวยุโรปได้ขอให้สร้างถนนเพื่อให้เดินทางสะดวกสบาย เลยกลายเป็นที่มาของถนนเจริญกรุง ถนนสายแรกของกรุงเทพฯ
สมัยรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เหล่าขุนนางข้าราชการ และเศรษฐีใหม่ ได้ขยับขยายมาตั้งบ้านเรือนในย่านสีลม เป็นทำเลที่ดี อากาศดี และอยู่ไม่ไกลจากเขตพระนคร และในอดีตนิยมสัญจรทางน้ำ และย่านนี้เดินทางสะดวกใกล้ท่าเรือใหญ่ นอกจากนี้ในย่านนี้ยังมีชาวอิสลาม ประกอบอาชีพเลี้ยงโค เลี้ยงแพะ อาศัยอยู่ตามริมคลองซอยประดิษฐ์ และในย่านนี้ยังเป็นที่ตั้งของวัดแขก วัดพระศรีมหาอุมาเทวี และมัสยิดมีรุซุดดีน เป็นศูนย์กลางของชาวฮินดูและมุสลิม เป็นหลักฐานสำคัญของการเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวฮินดู และอิสลาม
ต่อมาหลังการสร้างถนนสีลม ก็เริ่มมีชาวจีน ทยอยเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาค้าขาย เพราะย่านสำเพ็ง ตลาดเก่า และเยาวราช เริ่มมีประชากรหนาแน่น ซึ่งส่วนใหญ่ทำการค้าขาย เป็นเจ้าของโรงสี โรงเลื่อย รวมถึงรับราชการที่โรงภาษีและกรมเจ้าท่า
ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรือง เกิดการพัฒนาประเทศทั้งการค้า การคมนาคม เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศ และในย่านนี้เอง เริ่มมีการขยายตัวออกมาทางทิศตะวันออก จากสีลมไปสยาม ไปถึงสาทร และสุขุมวิท และถนนเจริญกรุงที่เคยเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางสังคม กลับค่อยๆ เปลี่ยนแปลงคนรุ่นใหม่ที่เคยอยู่ในย่านตลาดน้อย บางรัก ต่างย่านถิ่นฐานกันออกไป เหลือแต่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ที่ยังคงอยู่ ย่านบางรักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และพื้นที่แถบริมแม่น้ำเจ้าพระยาแทบจะไม่ได้รับการพัฒนาเลย เลยยังเหลือร่องรอยประวัติศาสตร์ให้เราได้ศึกษากัน[/vc_column_text][vc_column_text]
บางรัก ชื่อนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ ความรัก แต่อย่างใด
[/vc_column_text][vc_column_text]ชื่อ บางรัก นั้น ไม่ได้มีที่มาเกี่ยวกับความรักแต่อย่างใด พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานว่า สำหรับที่มาของชื่อ บางรัก นั้นมีข้อสันนิษฐานอยู่ 2 ข้อ คือ ข้อสันนิษฐานที่ 1 มาจากชื่อโรงพยาบาล หรือ โรงหมอ ที่มีมิชชันนารีรักษาแบบสมัยใหม่ ที่ผู้คน ชาวบ้านนิยมมารักษา เรียกว่า บางรักษ์ และเพี้ยนมาเป็น บางรัก แบบในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐานที่ 2 คือ บริเวณนี้มีคลองสายเล็กๆ ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มีชาวบ้านมาเจอท่อนไม้ซุงขนาดใหญ่ซึ่งเป็น ต้นรัก ต้นใหญ่จมอยู่ในคลอง ความใหญ่โตของ ต้นรัก นี้เป็นที่กล่าวขานกัน ไม่มีใครทราบที่มาที่ไปของ ต้นรัก ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่าไม้รัก เวลาผ่านไปจึงกลายเป็น บางรัก และคลองที่พบต้นรัก เรียกกันว่า คลองต้นซุง และเมื่อคลองนี้ถูกถม จึงกลายเป็น ตรอกซุง อย่างในปัจจุบัน[/vc_column_text][vc_column_text]
ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
[/vc_column_text][vc_column_text]บางรักในปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ยังคงความเป็นย่านการค้าของชาวจีนที่เก่าแก่อีกย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ ตึกแถวเก่าที่เคยที่ร้านค้า ร้านโชห่วย ก็เปลี่ยนไปตามเวลา ตามสมัยนิยม ร้านค้าสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ แต่ยังคงเหลือร่องรอยของอดีตให้เราได้ค้นหา
ปัจจุบันตึกแถวย่านนี้หลงเหลือความเป็นตึกเก่า ย่านค้าขายที่เคยรุ่งเรืองในอดีต มีร้านอาหารอร่อย เจ้าดังหลายเจ้า เป็นเหมือนสวรรค์ของนักกินเพราะมีแต่ของอร่อยๆ ชวนชิม[/vc_column_text][vc_column_text]
เดินทาง ทางน้ำ ทางบก เชื่อมต่อทางราง
[/vc_column_text][vc_column_text]
ในอดีตการเดินทางย่านบางรักใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก มีท่าเรือใหญ่เป็นหลักในการเดินทาง ต่อมามีการสร้างถนนซึ่งเป็น ถนนสายแรก ของประเทศไทย คือถนนเจริญกรุง การสัญจรทางบกจึงกลายเป็นเส้นทางหลักของชาวสยามสมัยนั้น ปัจจุบันถนนเจริญกรุงก็เป็นถนนสายสำคัญอีกสายของกรุงเทพฯ ต่อมามีการสร้างรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศ แบ่งเป็น 2 เส้นทางคือ สายสุขุมวิท วิ่งระหว่างหมอชิต-อ่อนนุข และสายสีลมสุดที่สถานีสะพานตากสิน นับเป็นจุดเปลี่ยนของการเดินทางในย่านนี้ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งทางน้ำ ทางบก และทางราง[/vc_column_text][vc_column_text]
บางรัก ย่านไลฟ์สไตล์ชิคๆ
[/vc_column_text][vc_column_text]
[/vc_column_text][vc_column_text]นอกจากย่านบางรักจะเต็มไปด้วยร้านอาหารเจ้าดังมากหมายแล้ว ทั้งโจ๊กปรินซ์ บางรัก เป็ดย่างประจักษ์ ไต๋ตงหูฉลาม-รักนก ก๋วยเตี๊ยวเกี๊ยวโต เป็นแหล่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีคาเฟ่เก๋ๆ ให้นั่งเล่นจิบกาแฟ[/vc_column_text][vc_column_text][/vc_column_text][vc_column_text]บางรัก ยังเป็นที่ตั้งของโรงแรมดังชั้นนำอันดับ 1 อย่าง โรงแรมแชงกรีลา ที่โดดเด่นอยู่เคียงคู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาแล้วกว่า 35 ปี เป็นโรงแรม 5 ดาว อยู่บนเนื้อที่กว่า 12 ไร่ สูง 15 ชั้น มีห้องพักทั้งหมด 682 ห้อง บนถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ใกล้กับท่าเรือสาทร และ รถไฟฟ้าสถานีสะพานตากสิน[/vc_column_text][vc_column_text][/vc_column_text][vc_column_text]และนอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น วัดยานนาวา วัดสุทธิวราราม โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงกรุงเทพ[/vc_column_text][vc_column_text]
[/vc_column_text][vc_column_text]ถึงกาลเวลาจะเปลี่ยนไปแต่ไหน แต่ บางรัก ก็ยังคงสวยงามอย่างที่เคยเป็น
[/vc_column_text][vc_column_text]
ติดต่อ 089 748 5171(K.ปลา)
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]