ตลาดที่อยู่อาศัยรอฟื้นตัวหลังโดนแรงกระทบโควิด-19รอบ2

You are currently viewing ตลาดที่อยู่อาศัยรอฟื้นตัวหลังโดนแรงกระทบโควิด-19รอบ2

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจารธนาคารอาคาสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริทรัพย์ เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 ว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ ส่งผลให้จีดีพีของประเทศปรับตัวลดลงถึง 6.1% ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 22ปี และยังส่งผลโดยตรงมาถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ทำให้ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศประมาณ 358,469 ยูนิต ลดลงจากปี 2562 ถึง -8.5% โดยเฉพาะในช่วงที่มีการประกาศล็อคดาวน์ประเทศเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม การโอนกรรมสิทธิ์ลดลงถึง -11% ในจำนวนนี้เป็นการโอนกรรมสิทธิ์บ้านแนวราบ 236,150 ยูนิต ลดลง -10%  และอาคารชุด 122,338 ยูนิต ลดลง -5.5% จากปี 2562

แต่ขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงแค่  0.3% คิดเป็นมูลค่า 928,376 ล้านบาท  ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าการลดลงของอาคารชุดถึง -4.7% ส่วนบ้านแนวราบมีมูลค่าการโอนเพิ่มขึ้น 2.2% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการขายของผู้ประกอบการ ในช่วงที่มีการปิดงบรายไตรมาส  ทำให้มีการเร่งโอนบ้านราคา 3-5 ล้านบาทเป็นจำนวนมาก รวมถึงบ้านราคาแพง

“การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปี 2563 ที่ผ่านมาเริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ไตรมาสแรก และหนักสุดในช่วงไตรมาส 2ที่มีการประกาศล็อคดาวน์ประเทศ และค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3และ4 เพราะมีการเร่งขายและเร่งโอนของผู้ประกอบการ แต่โดยภพรวมแล้วถือว่าติดลบทุกไตรมาส”

ต่างชาติเลื่อนโอนกรรมสิทธิห้องชุด
ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดของชาวต่างชาติในปี 2563 ที่ผ่านมาก็ลดลงมากถึง -35.3% โดยมีการกรรมสิทธิ์จำนวน 8,285 ยูนิต มูลค่า 37,716 ล้านบาท ขณะที่ปี 2562 มีการโอนสูงถึง 12,798 ยูนิต มูลค่า 50,610 ล้านบาท  แต่จากที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายในประเทศจีน ก็ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์เริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นยอดโอนกรรมสิทธิ์จากแบ็คล็อคของชาวต่างชาติ แต่ขณะที่ยอดโอนจากสินค้าใหม่ยังมีไม่มาก

ยอดโอนกรรมสิทธิ์Q1ปี’64 ติดลบ 10.5%
ส่วนแนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2564 ดร.วิชัยประเมินว่า จะมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงจากปี 2563 ประมาณ -1.5% จำนวน 353,236 ยูนิต โดยเฉพาะอาคารชุดจะลดลงมากสุด -4.2%  เริ่มตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกคาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์จะลดลง-10.5% เนื่องจากยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่วนในช่วงไตรมาส2คาดว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ประมาณ 7.5%

ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ปี 64 กทม.-ปริมณฑลลเพิ่มขึ้น32.7%
ส่วนภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา มีการเปิดตัวโครงการใหม่เข้ามาในตลาดฃจำนวน 62,227 ยูนิต ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -36.7% เนื่องจากผู้ประกอบการมีการชะลอแผนเปิดตัวโครงการใหม่ ส่งผลให้มีการเปิดตัวโครงารใหม่น้อยที่สุดในรอบ 10ปี ขณะที่สัดส่วนการเปิดตัวอาคารชุดก็ลดลงมากเช่นเดียวกัน

ส่งผลให้สัดส่วนการเปิดตัวบ้านจัดสรรใหม่มีมากถึง 35,702 ยูนิต คิดเป็น 57% ขณะที่อาคารชุดเปิดตัวใหม่มีจำนวน 26,525 ยูนิต คิดเป็น 43% และเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีจำนวนอาคารชุดเปิดตัวใหม่มากถึง 54,769 ยูนิต ลดลกว่า 50%

สำหรับแนวโน้มของการเปิดตัวที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2564  ดร.วิชัยประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 32.7% เมื่อเทียบกับปี 2563  เนื่องจากสินค้าคงเหลือค้างสต็อกเริ่มลดลง โดยจะมีสินค้าใหม่เปิดตัวเข้ามาตลาดประมาณ 82,594 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านแนวราบ 43,732 ยูนิต และอาคารชุดจำนวน 38,594 ยูนิต ซึ่งคาดว่าในช่วงไตรมาส 4 จะมีการเปิดตัวสินคาอาคารชุดในตลาดมากกว่าบ้านแนวราบ