ยังคงสร้างความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อพื้นที่ใจกลางเมืองถูกเนรมิตรให้กลายเป็น “สวน” หรือพื้นที่การเกษตรกรรม
หากย้อนกลับไปนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่โดยช่วงแรกที่สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากคือสวนมะนาวที่เกิดขึ้นบนทำเลใจกลางพระราม 9 บนที่ดินที่มีมูลค่าสูงถึงหลักหมื่นล้านบาท ที่มีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์เกิดขึ้นมาก่อนและน่าจะเป็นที่ดินแปลงแรกๆที่เริ่มมีการเปลี่ยนที่ดินรกร้างให้เกิดการใช้ประโยชน์และกลายเป็นสวนมะนาวใจกลางเมือง
แล้วทำไมถึงมีการทำสวนเกิดขึ้นในพื้นที่ใจกลางเมือง
นับแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี แต่ด้วยการออกกฎหมายใหม่ ณ ตอนนั้น ยังออกกฎหมายลูกไม่ครบทำให้มีการเลื่อนใช้ออกไปจนถึงเดือนสิงหาคมในปี 2563 ประกอบกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศให้ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
แต่สำหรับปีนี้ 2565 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะถูกจัดเก็บเต็มจำนวน
ซึ่งส่งผลให้ผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องชำระตามอัตราที่กำหนด
จะเห็นว่าแปลงที่ดินที่เข้าข่ายการใช้ประโยชน์ “การทำการเกษตรกรรม” จะมีฐานอัตราการเสียภาษีน้อยที่สุด ทำให้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดินโดยการแปลงโฉมให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมใจกลางเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่เดี๋ยวก่อน!!! การจะทำเกษตรกรรรมใช่ว่าจะปลูกพืชเพียง 1 ถึง 10 ต้น หรือเลี้ยงสัตว์เพียงไม่กี่ตัว ก็จะถูกตีความว่าเป็นพื้นที่การทำการเกษตรแล้ว?
ซึ่งมีประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ต้องมีจำนวนเท่าใด? จึงจะเข้าข่ายการใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม
ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งพื้นที่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารสูงระฟ้า และความเจริญรุ่งเรือง ในอีกไม่ช้าอาจจะได้เห็นการทำการเกษตร ในพื้นที่เมือง(ห)ลวงก็เป็นได้!!!