ผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ทำให้ไลฟ์วิถี หรือไลฟ์สไตล์การทำงานของผู้คนเปลี่ยนไป ประกอบกับแนวคิดการออกแบบพื้นที่ทำงานแบบ Coworking Space ที่เคยได้รับความสนใจก่อนวิกฤติโควิด ได้กลายมาเป็นรูปแบบพื้นที่ทำงาน ที่ได้รับความสนใจจากองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งในปัจจุบัน ด้วยรูปแบบวิถีการทำงานที่เปลี่ยนไป หลายบริษัทให้พนักงานบางแผนก จัดแบ่งวันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์ตามความเหมาะสม ความจำเป็นของการใช้พื้นที่ที่เคยใช้เต็มจำนวน ถูกลดลงโดยอัตโนมัติ คำถามก็คือองค์กรขนาดใหญ่ที่เคยมีพื้นที่จำนวนมาก เมื่อจำนวนการใช้งานเหลือเพิ่มมากขึ้น บางมุมอาจรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่แออัดจนเกินไป แต่บางครั้ง อาจเป็นการเว้นระยะห่างที่ส่งผลทางด้านจิตใจได้ในระยะยาว ในขณะเดียวกัน ผลกระทบการขยายตัวของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีหลายช่องทาง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน การให้บริการ การประสานงานทั้งภายในและระหว่างองค์กร ปัญหาการปรับปรุงพื้นที่สำนักงาน จึงไม่ใช่เพียงแค่ต้องตอบโจทย์จำนวนคนที่เข้ามาใช้พื้นที่หรือความสวยงาม แต่ต้องตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้วยบรรยากาศทางกายภาพ และบรรยากาศทางจิตวิทยาให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์การทำงานตามวิถีชีวิตใหม่หลังวิกฤติโควิดอันนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำแนวคิดแบบ Coworking Space ที่ถูกนำมาพัฒนาในเวอร์ชั่นใหม่ เพื่อปรับให้เข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานในปัจจุบัน บนพื้นที่ชั้น 8 อาคารสำนักงานใหญ่เอสซีจี 2 ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ของหน่วยงาน Housing Product Business ก็เริ่มมีการสลับ สับเปลี่ยนตารางการเข้าทำงานในออฟฟิศ และแม้จะมีบางกลุ่มที่อาจต้องเข้าประจำการทุกวัน ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้ผสมผสานของกลุ่มมดงานหลากหลายเจนเนอเรชั่น ที่ใช้พื้นที่ในการทำงานร่วมกันในทุกวัน ท่ามกลางรูปแบบการทำงานที่ถูกปรับโหมดให้เข้ากับยุคสมัยผ่านเครื่องมือสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสำหรับการพูดคุยงานกับลูกค้า ผู้ร่วมงาน ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือประชุมย่อย แบบตัวต่อตัวภายในหน่วยงาน วิถีการทำงานที่ไม่เหมือนเดิมนี้ จึงเป็นที่โจทย์ท้าทายการพัฒนาพื้นที่เล็ก ๆ ให้สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์การทำงานตามแบบวิถีชีวิตแนวใหม่ระหว่างคนต่างเจน ที่ นางสาวแสงทิพย์ นิรุตติรักษ์ หนึ่งในทีมงานสถาปนิกที่เข้ามาร่วมรีโนเวทพื้นที่ หยิบมาเปิดเปลือยไอเดีย การปรับปรุงพื้นที่ในแบบฉบับผสมผสาน ได้อย่างน่าสนใจ ว่า
“โจทย์สำคัญของการรีโนเวทพื้นที่ คือการสร้างพื้นที่ให้เชื่อมโยงการทำงาน Online และ Onsite เข้าด้วยกัน ส่งผลให้การปรับปรุงพื้นที่ ต้องสามารถรองรับทั้งการประสานงานแบบส่วนตัว หรือเป็นกลุ่มเล็ก ใหญ่ เพิ่มเข้าไปด้วย ขณะเดียวกันการปรับปรุงพื้นที่ยังให้ความสำคัญต่อการผสมผสานพื้นที่สันทนาการ เพื่อเติมเต็มบรรยากาศให้เกิดความผ่อนคลายหรือการรีเฟรชชีวิตระหว่างวัน ช่วยกระตุ้นให้เกิดไอเดียการทำงานใหม่ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือการคัดสรร หรือนำวัสดุตกแต่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เข้ามาสนับสนุนวิถีการทำงานแนวใหม่ มาพัฒนาควบคู่ไปกับการออกแบบไปด้วย”นางสาวแสงทิพย์ กล่าว
เติมเต็มประสิทธิภาพความสุขของการทำงาน ด้วยวัสดุตกแต่งนวัตกรรมใหม่
เรื่องยากที่สุดของการตกแต่งของทีมออกแบบก็คือการเปลี่ยนสิ่งที่คุ้นเคย อาทิ ห้องประชุม เพราะการทำงานออนไลน์ ปรับให้การประชุมภายนอก เป็นการใช้พื้นที่ภายในมากขึ้น การออกแบบจึงเน้นไปที่การเติมเต็มประสิทธิภาพต่อขนาดพื้นที่ ให้หลากหลายมากขึ้น ให้เหมาะสมต่อจำนวนคน และการใช้งาน ด้วยการใช้วัสดุแผ่นดูดซับเสียงมาเป็นวัสดุปกปิดผนัง เพราะนอกจากเป็นวัสดุที่ช่วยลดปัญหารบกวนเรื่องเสียงแล้วยังสามารถนำมาตกแต่งห้อง ด้วยการเลือกหุ้มตัววัสดุด้วยผ้าที่เป็นโทนสีน้ำตาลอมเทา (Steeple Grey) ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น และบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เนื่องจากห้องประชุมเป็นห้องที่ต้องใช้พลังในการรวบรวมความคิด ระดมสมองมากนอกจากนี้ในส่วนพื้นที่ภายนอก ที่เคยเป็นส่วนตั้งโต๊ะทำงาน การทำงาน แบบ Online และ Onsite ทำให้จำเป็นต้องมีพื้นที่รองรับการประชุมย่อย ไม่เป็นทางการมากนักหรือสำหรับการทำงานเฉพาะกิจ การนำวัสดุอะคูสติก สำหรับผนังตกแต่งและดูดซับเสียง รุ่น Cylence Zandera มาพัฒนาในแบบ Meeting Partition ที่ไม่สูงจนเกินไป ทำให้รู้สึกมีความเป็น Semi-Public ที่เป็นพื้นที่เปิดในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้เปิดมากจนเกินไป ความสูงของผนังผ่านการคำนวณประสิทธิภาพการซับเสียงจากทีมวิศวกร ว่าสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม กับพื้นที่สำหรับการประชุมที่ไม่เป็นทางการมากเกินไป ในรูปทรงโค้ง และใช้โทนสีอบอุ่นอย่างสี Steeple Grey ภายใน เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือผู้ที่ใช้พื้นที่ด้วย
เติมเต็มด้วยดีไซน์บนความเป็นส่วนตัว
การสร้างพื้นที่ทำงานส่วนตัวให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานที่ผ่อนคลายให้เหมือนการทำงานที่บ้านจึงเป็น ไฮไลท์ของการปรับปรุงพื้นที่ในส่วนนี้ก็คือการทำให้พื้นที่ eye view ที่เคยเป็นพื้นที่เฉพาะ หรือห้องทำงานส่วนตัว มาเปิดเป็นพื้นที่ ให้เข้าถึงได้มากขึ้น พร้อมสร้างความเป็นอิสระ หรือความเป็นส่วนตัวที่ตอบรับวิถีการทำงานใหม่ ทั้งในแบบการกั้น Partition ด้วย วัสดุอะคูสติสำหรับผนังดูดซับเสียง.รุ่น Cylence Zandera เพื่อความเป็นส่วนตัวในพื้นที่จำกัด โดยกั้นกำแพงด้านข้าง และเปิดพื้นที่ว่างทั้งด้านหน้าและหลัง โดด้านหนึ่งเปิดให้เห็นวิวภายนอก ด้านในดีไซน์ให้มีโต๊ะทำงานขนาดกะทัดรัด ออกแบบเพื่อการทำงานทั้งแบบออนไลน์ หรือ ประชุมเป็นSmall Group รวมถึงการนำ Acoustic Pod มาเสริมสร้างพื้นที่การทำงานส่วนตัว
ด้วยประสิทธิภาพที่ช่วยลดเสียงรบกวนได้ถึง 30 เดซิเบล และลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนของห้องได้ มีการออกแบบให้เหมาะกับการทำงานแบบส่วนตัว ด้วยดีไซน์โมเดริน์ มีระบบหมุนเวียนอากาศภายใน และสามารถลดเชื้อโรคและฝุ่นในอากาศ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรียสูงสุด 99 % ด้วย SCG Bi-ion พร้อมอุปกรณ์ครบครัน ให้พร้อมทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ติดตั้งแบบ Knock Down เคลื่อนย้ายได้สะดวก จึงเหมาะเป็นห้องประชุมส่วนตัวบนโลกออนไลน์ ที่เชื่อมโยงกับบรรยากาศการทำงานเดิม ให้ดูเป็นพื้นที่ทำงานอันทันสมัย ได้อย่างลงตัว และที่พลาดไม่ได้คือ จุดพักผ่อนหย่อนใจ ให้ยืดเส้นยืดสายกับมุมสันทนาการเล็ก อย่างโต๊ะปิงปอง หรือมุมจิบกาแฟชิล ชิล ชมเมือง ให้ความตึงเครียดจากการทำงานได้ผ่อนคลายบ้าง ก็ไม่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ความลงตัวของการออกแบบเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปภายใต้พื้นที่ห้องอันจำกัด โดยการหยิบยกเอาจุดเด่นที่น่าสนใจ แบบ Coworking Space ในเวอร์ชั่นใหม่ มาผสมผสานกับการใช้วัสดุตกแต่งนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณสมบัติช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงานภายในที่ทำงาน ภายใต้โจทย์การดำเนินชีวิตที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการทำงานที่บ้าน จึงเป็นแนวโน้มที่ดูกำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน วัสดุที่ทีมนักออกแบบนำมาใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ในครั้งนี้ นอกจากตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานตามแบบวิถีชีวิตใหม่แล้ว ยังเป็นการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลกอีกด้วย ด้วยวัสดุที่ใช้ไม่ว่าจะเป็น ผนังตกแต่งและดูดซับเสียง หรือ Acoustic Pod ล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างแท้จริง