SCB EIC คงเป้าเศรษฐกิจไทยปี’66 ขยายตัว 3.9%รับแรงหนุนการบริโภคภาคเอกชน-ธุรกิจท่องเที่ยวโต

You are currently viewing SCB EIC คงเป้าเศรษฐกิจไทยปี’66 ขยายตัว 3.9%รับแรงหนุนการบริโภคภาคเอกชน-ธุรกิจท่องเที่ยวโต

i

SCB EIC คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566ขยายตัวไว้ที่ 3.9% ตามการบริโภคภาคเอกชนและภาคท่องเที่ยวรวมถึงภาคบริการที่ฟื้นตัวดี แม้การส่งออกไม่สดใสนัก โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้แตะ 30 ล้านคน ขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติพุ่ง 1.27 ล้านล้านบาท ด้านการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีไม่สดใสนักเหลือ 0.5% (เดิม 1.2%) แถมเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเผชิญกับเอลนีโญระดับอ่อนถึงรุนแรงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดว่าจะสร้างความเสียหายในภาคเกษตรราว 40,000 ล้านบาท

ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เปิดเผยว่า SCB EIC ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 อยู่ที่ 2.1% จากเดิม 2.3% เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจช่วงต้นไตรมาส 2 แย่กว่าที่คาดไว้ ทั้งการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคบริการยังมีความแตกต่างกันสูง อีกทั้งความเสี่ยงด้านต่ำมีมากขึ้นอาจกดดันให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปี เช่น มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นต่อเนื่อง ความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจมีแนวโน้มถูกกดดันทั้งจากอุปสงค์ที่ลดลง เงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูง และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำลง รวมถึงปัญหาความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีโอกาสรุนแรงมากขึ้น

ขณะเดียวกันการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก จะเห็นได้จากเศรษฐกิจ EMs ขนาดใหญ่มีแนวโน้มเติบโตช้าลง เช่น จีน เกาหลีใต้ ขณะที่กำลังแรงงานเติบโตช้าลง ตามการเติบโตของประชากรโลกที่ลดล โดยIMF ได้ประมาณการการเติบโตของ GDP โลกระยะปานกลาง (5 ปี) อยู่ที่ 3% ตํ่าสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ที่มีการจัดทำประมาณการณ์ดัดังกล่าว และตํ่ากว่าค่าเฉลี่ย PRE-COVID (2010-2019) ที่ 4.1% ค่อนข้างมาก

นักท่องเที่ยวต่างชาติหนุนเศรษฐกืจไทยโต 3.9%
ด้านทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ SCB EIC คงประมาณการเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 3.9% จากแรงหนุนการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว โดยประเมินว่าปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าในเมืองไทยจะอยู่ที่ 30 ล้านคน โดยข้อมูล ณ วันที่ 11 มิถุนายน ตัวเลขชาวต่างชาติอยู่ที่ 11.4 ล้านคน และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 1.27 ล้านล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าใกล้ค่าเฉลี่ยในปี 2562  มากขึ้น โดยประเมินว่าค่าใช้จ่ายต่อตัวต่อทริปของชาวต่างชาติจะอยู่ที่ 41,000 บาท ใกล้เคียงกับปี 2562 ที่มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปของชาวต่างชาติอยู่ที่ 48,000 บาท

ดร.กมลมาลย์ แจ้งล้อม นักวิเคราะห์อาวุโส SCB EIC กล่าวว่า นักท่องเที่ยวเอเชียยังคงเป็นนักท่องเที่ยวหลักที่เดินทางมาไทย โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทยสูงสุดในเดือนมิถุนายน ได้แก่  มาเลเซีย ช่วง 5เดือนที่ผ่านมาเดินทางเข้ามาเมืองไทยแล้ว 1.66 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 14.%  รองลงมาคือประเทศจีน จำนวน 1.13 ล้านคน ลดลง -63% รัสเซียจำนวน  7.4 แสนคนเพิ่มขึ้น 7% ส่วนเกาหลีใต้มีจำนวน 6.4 แสนคน และอินเดีย 6 แสนคน ลดลง -19%

นักท่องเที่ยวชาวจีนกำลังเร่งตัวต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง จากการเพิ่มเที่ยวบินต่อสัปดาห์ในช่วงตารางการบินฤดูร้อน โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เที่ยวบินจากจีนได้รับการจัดสรรราว 430 เที่ยวบิน/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ 152 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าไทยแล้วราว 1.23 ล้านคน อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 11มิภุนายน 2566)”

ส่วนภาคการส่งออกนั้น ดร.ฐิติมากล่าววา ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านตํ่าที่สำคัญ โดย EIC ได้ปรับลดคาดการณ์มูลค่าส่งออกสินค้าไทยปีนี้เหลือ 0.5% จากเดิม 1.2% จากแรงหนุนตลาดส่งออกจีนที่แผ่วกว่าคาด และความเสี่ยงด้านตํ่าของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเผชิญกับเอลนีโญระดับอ่อนถึงขั้นรุนแรงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดว่าจะสร้างความเสียหายในภาคเกษตรมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านบาท

ประเมินจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้า กระทบเศรษฐกิจในปีหน้า
เช่นเดียวกันกับความไม่แน่นอนทางการเมืองถือเป็นความเสี่ยงในประเทศที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะการจับขั้วรัฐบาลและนโยบายของรัฐบาลใหม่ โดย SCB EIC มองในกรณีฐาน ไทยจะได้รัฐบาลใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม คาดว่าจะส่งผลต่อการเบิกจ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณนี้ไม่มากนัก เนื่องจากรัฐบาลได้เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนและเร่งอนุมัติโครงการลงทุนไว้ก่อนยุบสภา

อย่างไรก็ดีมีความเป็นไปได้ที่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่อาจล่าช้าไปถึงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะกระทบการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 นอกจากนี้นโยบายหาเสียงสำคัญที่จะผลักดันต่อไปจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ในกรณีฐาน SCB EIC คาดว่านโยบายหลักของแกนนำรัฐบาลชุดใหม่จะส่งผลบวกต่อกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับการบริโภค รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย

ขณะที่บางธุรกิจอาจได้รับผลลบจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงบางกลุ่มธุรกิจที่มีประเด็นผูกขาดทางการค้า ด้านหนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น