ในงานสัมมนาอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2024 ของสมาคมอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย สมาคมอสังหาริมทรัย?ำทย สมาคมธึรกืจบ้านจีดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่ําวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายภาครัฐต่อการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์” ว่า ภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญกับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นเครื่องยนต์ในการผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถเดินไปข้างหน้าได้ ทำให้ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจนี้ทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาษีและภาคการเงิน
สำหรับภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านอุปทานหรือซัพพลาย ในช่วงไตรมาส 4ปี 2566 ที่ผ่านมา มีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 7.7% แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณ 2.7% โดยเป็นการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ปรับลดการขอใบอนุญาติจัดสรร ส่วนในด้านของดีมานด์ ตัวเลขยอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 3ที่ปีที่ผ่านมา มีการปรับตัวลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายสินค้าใหม่ ณ ไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นถึง 24%
ส่วนแนวโน้มของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 คาดว่าจะมีการปรับตัวที่ดีขึ้นจากมาตรการของภาครัฐที่เข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาฯให้เติบโตต่อไป และการปรับตัวของกลุ่มผู้ประกอบการ แต่ยังมีปัจัจจัยเฝ้าระวังจากภาวะเศรษฐกิจทั้งต่างประเทศและในประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยกระทบจากต่างประเทศ มีทั้งสงครามรัสเซียและยูเครน สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาส และปัจจัยกระทบจาดภายในประเทศที่เกิดจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำที่สะท้อนถึงกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว และภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงที่บั่นทอนกำลังซื้อภายในประเทศ
“ภาคธุรกิจอสังหาฯเป็นภาคส่วนที่เป็น Supply Chain หรือห่วงโซ่การผลิตที่ยาว เพราะมีผลกระทบไปถึงภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ดังนั้นหากภาคธุรกิจนี้เกิดปัญหาก็จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนในด้านลบต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยจะส่งผลกระทบไปยังปัจจัยการผลิตทั้งอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก ซีเมนต์ คอนกรีต โลหะ เครื่องจักร รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยว สถาบันการเงิน”
ทั้งนี้ทางกระทรวงการคลังได้ทำการวิจัยโดยใช้ระบบโซเชียลแอคเค้าท์ในการดูตัวคูณของภาคอสังหาฯของประเทศไทย สิ่งที่พบคือ เงิน 100 บาทที่นำไปลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาฯมีส่วนช่วยภาคเศรษฐกิจได้ 113 บาท ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจอสังหาฯ โดยมุ่งรักษาเสถียรภาพของภาคอสังหาฯ และต้องการให้ภาคอสังหาฯเป็นกลไกหชักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ภาครัญจึงได้เสนอ 2มาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาฯ คือ มาตรการด้านภาษี 5 มาตรการ และมาตรการด้านการเงิน 2มาตรการ โดยมาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่ต้องจ่ายเป็นดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืม สามารถนำมาลดหยิ่นภาษีได้ไม่เกิน 1แสนบาท
มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90%ของจำนวนเงินนภาษีที่ต้องจ่ายให้กับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการเป็นระยะยเวลา 3ปี
มาตรการการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วย ทรัพย์สินส่วนกลางที่ใช้ประโยชน์ร่่วมกันตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคว่าด้วยกฎหมายการจัดสรรที่ดิน และที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคด้วยด้วยกฎการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
มาตรการขยายเวลาระยะเวลาจัดเก็นภาษืที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปอีก 2เดือนจนถึงเดือนมิถานายนนี้ และมาตรการลดค่าจดทะเบียนจำนองจาก 2%เหลือ 1% และค่าจดทะเบียนการโอนจาก 1%เหลือ 0.01% สำหรับวงเงินจดจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
“ขณะนี้กระกรวงการคลังกำลังศึกษาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งความเหมาะสวซื้อให้มและผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ในการพัฒนาระบบภาษีให้ตอบสนองทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด ส่วนมาตรการด้าน LTVมีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่ง แต่ยังไม่มีข้อสรุปเป็นที่น่าพึงพอใจ ตึงต้องมีการการือกันต่อไป ”
ส่วนมาตรการด้านการเงินในปี 2567 จะมี 2มาตรการหลัก คือ โครงการบ้านล้านหลักระยะที่ 3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่มีรายไดน้อยถึงปลานกลางมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยธนาครอาคารสงเคราะห์ได้เตรียมวงเงิน 2หมื่นล้านบาทเพื่อปล่อยกู้ให้ซื้อบ้านได้ราคาไมเกิน 1.5 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกินน 40ปีคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2%เป็นเวลา 5ปี และโครงการสินเชื่อที่สนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยป็นของตัวเองวงเงินกู้ 10,000ล้านบาท ปล่อยกู้ซื้อบ้านได้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกินน 40ปี คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3ปีอยู่ที่ 2.98% โดยปีแรกคิดดอกเบี้ยคงที่ 1.95%