“พัทยา” ได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ประกอบกับ “กำลังซื้อ” ที่มีโครงสร้างผสมผสานทั้งจากนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทย และความหลากหลายของชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองพัทยา ที่ไม่ได้พึ่งพานักท่องเที่ยวจากชาติใด หรือจากประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถท่องเที่ยวได้ตลอด 24 ชม. และครอบคลุมทุกอายุ ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวในเมืองพัทยาค่อนข้างคึกคัก ประกอบกับศักยภาพของพัทยา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นไข่แดงภาคตะวันออก หรือ “EEC” ที่ภาครัฐได้เพิ่มแรงขับเคลื่อนด้วยการทุ่มเม็ดเงินมหาศาลลงทุนโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ อาทิ เช่น
โครงการมอเตอร์เวย์สายใหม่, โครงการขยายสนามบินอู่ตะเภา, โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา รวมถึง เมืองพัทยาเองที่ได้เตรียมศึกษาออกแบบโครงการรถไฟรางเบาชลบุรี-พัทยา ระบบขนส่งมวลชนขนาดรองเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นต้น สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ นอกจากจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังเมืองพัทยาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้ตลาดเดินหน้าได้
นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ปรับเปลี่ยนชื่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) แล้ว เพราะในอนาคตอาจจะมีการขยายโครงการสนับสนุนการลงทุนและระบบสาธารณูปโภคออกไปยังจังหวัดอื่นๆในพื้นที่ภาคตะวันออก นอกเหนือจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งปัจจุบันยังเน้นในพื้นที่ 3 จังหวัดก่อน ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของภาคตะวันออก ที่จะเน้นในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา และอีกหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านนวัตกรรม ทั้งนี้รัฐบาลมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจในพื้นที่ EEC และจังหวัดชลบุรี ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมในทุกส่วน และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านท่องเที่ยว และแผนการพัฒนาการเชื่อม 3 สนามบินของภาครัฐ จะยิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังได้มีการพัฒนารถไฟรางเบาเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีทางเลือกในการเดินทางมายังพื้นที่EEC ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งการประกาศผังเมืองใหม่ของภาครัฐก็จะยิ่งช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีได้มากยิ่งขึ้น คาดว่าภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ จังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะพื้นที่พัทยาจะมีความเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น ผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า โครงการ EEC ถือเป็นโครงการที่ภาครัฐ ได้ให้ความสำคัญในการเร่งพัฒนา ซึ่งเป็นการสนับสนุนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เศรฐกิจในพื้นที่ EEC มีการขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเมือง“พัทยา” ได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ประกอบกับกำลังซื้อ ที่มีโครงสร้างผสมผสานทั้งจากนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทย และความหลากหลายของชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองพัทยา นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวในเมืองพัทยาค่อนข้างคึกคัก ประกอบกับภาครัฐได้เพิ่มแรงขับเคลื่อนด้วยการทุ่มเม็ดเงินมหาศาลลงทุนโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ขณะเดียวกันเมืองพัทยาได้เตรียมศึกษาออกแบบโครงการรถไฟรางเบาชลบุรี-พัทยา ระบบขนส่งมวลชนขนาดรองเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่EEC เป็นต้น
ด้านนางสาวธิดา เชิดสุริยา ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ออเนอร์ เอสเตท จำกัด ในเครือออเนอร์ กรุ๊ป ผู้พัฒนาโครงการ “วันส์ พัทยา” (ONCE PATTAYA)กล่าวว่า พัทยาถือว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ มีศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์บริการการแพทย์นานาชาติ นอกจากนี้รัฐบาลเดินหน้ายกระดับพัทยาเป็นมหานครแห่งไมซ์(MICE) จับมือเมืองพัทยา และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมส่งเสริมภาพลักษณ์ใหม่เมืองพัทยาให้เป็นมหานครและเป็นจุดศูนย์กลางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของภาคตะวันออกภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก คือ การส่งเสริมภาพลักษณ์ “พัทยาเมืองใหม่” หรือ Neo Pattaya ร่วมพลิกโฉมเมืองพัทยาในฐานะมหานครแห่งไมซ์ อันเป็นเมืองที่เป็นหัวใจของพื้นที่ EEC โดยเมืองพัทยามุ่งเน้นการพัฒนาครบวงจรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบของประชาชนทุกภาคส่วน สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งไมซ์ต้นแบบอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังเดินหน้าให้พัทยาเป็น Smart City ที่มีการพัฒนาในพื้นที่เมืองเดิม และพื้นที่เมืองใหม่บางส่วน จากนั้นก็จะเชื่อทั้ง 2 พื้นที่เข้าด้วยกัน เสริมศักยภาพเป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองน่าอยู่ และเมืองศูนย์กลางการเงิน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของ EEC
ส่วนโครงการศึกษา ออกแบบและวางผังพื้นที่เฉพาะโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงเมืองพัทยา มีขนาดพื้นที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมสถานีรถไฟเมืองพัทยาเดิม โดยด้านบนจะติดกับตัวสถานีขนส่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน และทิศตะวันตกติดถนนสุขุมวิท ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่เล็งเห็นว่า จ.ชลบุรี มีความสำคัญในด้านการท่องเที่ยวและยังเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางการค้า และการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงทั้งในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยรัฐบาลได้กำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟความเร็วสูงไว้ที่เมืองพัทยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างไม่มีระบบ และก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบ และวางผังพื้นที่เฉพาะโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อเป็นแนวในทางการพัฒนาพื้นที่ด้านต่างๆ ทั้งทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และองค์ประกอบของเมือง เพื่อให้สอดคล้องต่อนโยบายของรัฐบาลและโครงการ EEC
ในขณะที่ด้านการท่องเที่ยวพื้นที่พัทยา มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2562 นี้ คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 6.17% และมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 2,195,360 ล้านบาท
ดังนั้นเชื่อว่าโครงการ วันส์ พัทยา จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นใจกับลูกค้าที่ซื้อโครงการได้เป็นอย่างดี ซึ่งโครงการดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณถนนเฉลิมพระเกียรติ พัทยา สาย3 บนพื้นที่ 2 ไร่เศษ จากทั้งหมด 4 ไร่ เป็นคอนโดมิเนียม สูง 32 ชั้น 1 อาคาร มีขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 28.00-59.80 ตารางเมตร มีให้เลือก 4 รูปแบบ ราคาขายเริ่มที่ 2.85-22 ล้านบาท จำนวน 427 ยูนิต มูลค่าโครงการกว่า 2,000 ล้านบาท กำหนดเงินดาวน์ 20% สำหรับลูกค้าคนไทย ส่วนลูกค้าชาวต่างชาติกำหนดเงินดาวน์ 50% โดยได้เริ่มพรีเซลไปเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ขณะนี้มียอดขายแล้ว 43% ซึ่งเป็นลูกค้าคนไทยประมาณกว่า 70% และต่างชาติกว่า 20% ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย รองลงมาเป็น เกาหลี,เวียดนาม และไต้หวัน เป็นต้น คาดว่าจนถึงปลายปี 2562 จะสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 80% ด้านการก่อสร้างจะเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 4/2562 และแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2/2565