ช่วงอายุของคนที่แตกต่างกันท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนมีมุมมอง ความคิด พฤติกรรม และนิสัยที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเจนเนอเรชั่น X (อายุ 40 – 54 ปี)เจนเนอเรชั่น Y (อายุ 23 – 39 ปี)เจนเนอเรชั่น Z (อายุ 10 – 22 ปี)จากการวิจัยของสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ ฮิลล์ อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN: HILL ASEAN) เอเจนซีโฆษณารายใหญ่จากญี่ปุ่น ยืนยันว่า คน Gen Z ซึ่งก็น่าจะอยู่ในสถานะ นักเรียน นักศึกษาและคนเริ่มต้นทำงานในปัจจุบัน เป็นประชากรที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเจนอื่นในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 24% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งนั่นย่อมหมายความถึงว่า เจนเนอเรชั่นนี้ จะมีความสำคัญ ในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคเป็นอย่างมาก แม้ว่าในอีกแง่มุมหนึ่งประเทศไทยที่ถึงแม้จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่บทบาทของ Gen Z ก็นับได้ว่าจะเข้ามามีบทบาทและมีส่วนชี้นำการเลือกซื้อสินค้าให้กับผู้สูงอายุ
สถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิถีชีวิตและบริบทแวดล้อมรอบตัวเราล้วนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ชีวิต ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ และให้ความสำคัญกับธรรมชาติมากขึ้น ด้วยแนวคิดในการอยู่ร่วมกันของคน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อม ๆ กับตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของครอบครัวยุคใหม่ ผลการจัดโครงการประกวดออกแบบ COTTO Design Contest 2022 ที่ COTTO เชิญชวนนิสิต นักศึกษามาร่วมออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยในฝันสร้างสรรค์ Dream Space ภายใต้แนวคิดที่ใส่ใจสุขภาพ และธรรมชาติรอบตัว ร่วมกันเนรมิตพื้นที่แห่งความสุขใจ สะดวกสบาย ปลอดภัย และใกล้ชิดธรรมชาติสำหรับทั้งตัวเอง และทุกคนในครอบครัวภายใต้ธีม Alltopia-Utopia for All โดยให้ผู้เข้าร่วมประกวดออกแบบพื้นที่พักอาศัย ขนาด 24 – 32 ตารางเมตร ที่ประกอบด้วย 2 ฟังก์ชั่นใช้สอยที่ต่างกัน โดยสามารถกำหนดรูปแบบการใช้งาน ตำแหน่งช่องเปิด ความสูงฝ้าเพดาน หรือผนังแบ่งพื้นที่ได้อย่างอิสระ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานได้จริงเป็นหลัก จึงมีนัยที่น่าสนใจมากกว่าเพียงแค่ผลสำเร็จของงานออกแบบที่ได้รับรางวัล แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการแบบบ้าน หรือที่พักอาศัย ของ Gen Z ที่จะมีบทบาทสำคัญในฐานะ Main Spenders ใหม่ ว่าแท้จริงแล้วน่าจะเป็นเช่นไร
นายสิทธิชัย สุขกิจประเสริฐ Chief Marketing Officer ดูแลกลุ่มผลิตภัณฑ์กระเบื้องแบรนด์ บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO เปิดเผยถึงผลสำเร็จในการจัดการประกวดในครั้งนี้ว่า “ ผลกระทบจากสถานการณ์ที่ผ่านมา บทบาทของที่อยู่อาศัยมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก และมีผลต่อวิถีชีวิตของผู้พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น ในฐานะผู้ผลิตวัสดุ คำถามที่เกิดขึ้น ก็คือ ใครที่จะมีบทบาทนำสินค้าไปสู่ผู้ที่อยู่อาศัยได้ดีที่สุดก็คงจะเป็นนักออกแบบ ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ นักออกแบบที่ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นตัวแทนกลุ่มเจนเนอเรชั่นใหม่ที่จะมีบทบาทสำคัญในตลาด หากมองในอีกมุมหนึ่งก็คือ กำลังมองเห็นวิธีคิด การเลือกวัสดุ และการนำไปพัฒนาประยุกต์ใช้ให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์และความต้องการ ที่สะท้อนให้ถึงแนวทางการพัฒนาสินค้าว่าสอดรับกับความต้องการของผู้พักอาศัยเหล่านี้ด้วยหรือไม่
จากผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้ามาประกวดกว่า 250 แบบจากทั่วประเทศ รวมถึงการจัดกิจกรรม Workshop ที่เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองความคิด และการพัฒนาวัสดุให้ผู้เข้าประกวดได้เห็น และนำไปพัฒนาในการออกแบบที่ผ่านมา ทำให้ได้เห็นถึงวิธีการผสมผสานจากหลากหลายกรอบความคิด การพยามยามมีส่วนรับผิดชอบ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของGen Z ได้อย่างน่าสนใจ เพราะสิ่งหนึ่งที่เติบโตมากับเจนเนอเรชั่นนี้คือ ความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านรอบตัว การตีโจทย์ Alltopia-Utopia for All ด้วยการมองโลกตามความเป็นจริง พร้อมการหามุมมองใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ด้วยการเชื่อมความต่างอย่างประนีประนอม ในการอยู่ร่วมกันของคนต่างเจนเนอเรชั่นและสิ่งแวดล้อม จากแนวคิดการออกแบบที่พักอาศัย ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ Gen Z ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสินค้าต่อไป ในขณะเดียวกันก็นับเป็นการเปิดโอกาส หรือเวทีให้ผู้เข้าประกวด ก็ได้มีโอกาสในการพัฒนาการเป็นนักออกแบบและสัมผัสกับความต้องการของผู้พักอาศัยเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งผลงานของผู้ได้รับรางวัลได้มีการจัดแสดงในงานบ้านและสวนที่ผ่านมาด้วย
สัมผัสพื้นที่แห่งความสุขแบบ Dream Space หรือ Alltopia ผ่านมุมมองของ Gen Z
จากการเปิดเผยของ นายรหัท มีกุศล และนางสาวภัณฑิรา คชเสนี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศ จาก โครงการ COTTO Design Contest2022 ด้วยผลงานชุด “น้ำกลิ้งบนใบบัว” หรือ พื้นที่สุขภาพและธรรมชาติ โดยเริ่มต้นมาจากความต้องการให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของทุกคน ผนวกกับแนวคิดที่ทาง COTTO ให้มาคือ Dream space จึงเป็นแนวคิดการออกแบบให้เสมือนอยู่ใต้น้ำ โดยต้องการสร้างประสบการณ์ในการอยู่ร่วมอาศัย และเกิดการรับรู้ธรรมชาติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นการบำบัดและเชื่อมผู้อาศัยเข้าสู่ธรรมชาติ และดึงนำองค์ประกอบของการกลิ้งของน้ำบนใบบัวมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ มีการปรับเปลี่ยนและลดทอนองค์ประกอบให้เกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมาใหม่ โดยจุดเด่นก็คือ ความกลมกลืนของพื้นที่ ทำให้ผู้อาศัยเกิดการหลอมรวมกับธรรมชาติได้มากที่สุด ตั้งแต่ฟอร์มของตัวอาคารที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากใบบัวที่มีน้ำกลิ้ง ด้านบนมีลักษณะกลมมน แสงของช่องเปิดที่ส่องผ่านลงมาถึงบริเวณพื้นที่การใช้งาน มีความโดดเด่นด้วยแสงที่หักเหกับกระจกเกิดเป็นเส้นริ้วคล้ายน้ำฉายอยู่ภายในห้อง การปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ให้สามารถหมุนได้ เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองในการรับรู้ธรรมชาติ ตามแนวคิด “น้ำที่กลิ้งไปมาบนใบบัว” รวมถึงการเลือกใช้วัสดุตกแต่ง ที่มีความสอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสม เช่น การใช้กระเบื้องฟอกอากาศในห้องนั่งเล่น การใช้กระเบื้องยังยั้งแบคทีเรีย (Hygienic tile) ในห้องครัว และลักษณะของลายกระเบื้องที่ทำให้รู้สึกถึงความกลมกลืนและใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในส่วนของผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในชุด “อยู่เถียง” โดย นายวสุ ขวัญอยู่เย็น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้บอกเล่าถึงแนวคิดเริ่มต้นของการออกแบบในครั้งนี้ว่า ได้ตั้งคําถามกับโจทย์ว่า Alltopia คืออะไร จึงได้ตีความหมายว่า คือ พื้นที่ที่ทุกคนสามารถอยู่ได้ และความหมายของการอยู่ได้ของตนนั้นคือ ต้องสามารถนอนและทำกิจกรรมต่างๆได้ครบในพื้นที่นั้น จึงได้ออกเเบบฟังก์ชั่นของพื้นที่นี้ขึ้นมาประกอบไปด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่น แล้วจึงตั้งคําถามต่อว่า จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างไร จึงได้มีสอง Solution คือนําธรรมชาติเข้ามาในโครงการ หรือ นําโครงการออกไป ซึ่งได้เลือกในรูปเเบบที่สองคือการนําตัวเราเข้าไปสู่ธรรมชาติ ปัญหาต่อมาก็คือ จะอยู่ในธรรมชาติได้อย่างไรให้รู้สึก Comfort จึงเกิดการปิดกั้นห้องและฟังก์ชั่นต่างๆให้เกิดพื้นที่ชัดเจนให้เกิดความปลอดภัยและด้วยความที่ว่านําตัวเองมาสู่พื้นที่ธรรมชาติ ผมได้มีการออกเเบบให้โครงการนี้มีการนําหลักของ passive design มาร่วมออกเเบบในโครงการเช่นช่องลม และ เเสงธรรมชาติ ทําให้โครงการนี้นอบน้อมไปกับบริบทและเข้าถึงธรรมชาติได้อย่างเป็นกันเองและทั้งหมดนี้คือที่มาของโครงการ “อยู่เถียง”
และที่น่าสนใจไม่แพ้ผลงาน 2 รางวัลที่ผ่านมา ก็คือผลงานชุด ได้แก่ “The Playground of Alltopia” ที่ออกแบบโดยนายทรงพล กุศลสนอง และนางสาวกณิศ เต็งธนกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นอกจากจะได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 แล้ว ยังคว้ารางวัล Popular Vote ไปครองด้วยอีก 1 รางวัล นั้นเปิดเผยแนวคิดและกับแบบบ้านที่เลือกใช้ในการออกแบบจากการตีความ Alltopia ให้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของCovid-19 ทุกคนเริ่มหันมาทํากิจกรรมในบ้านร่วมกับครอบครัว เริ่มใส่ใจกับความสะอาด และสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้ การออกแบบเน้นไปที่ การออกแบบพื้นที่ให้สมาชิกมีบทบาทที่สามารถเชื่อมโยง หรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนั้นๆ เข้าถึงกันได้อย่างลงตัว จึงเป็นที่มาของชื่อผลงานว่า “The Playground of Alltopia” โดยเลือกใช้อาคารแบบ Townhouse 3 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับความนิยมใช้เป็นที่อยู่อาศัย ในเมืองใหญ่ และส่วนมากผู้พักอาศัยไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้งานอาคารได้อย่างเต็มที่ ไม่ได้สัมผัสบรรยากาศแบบ Outdoor ด้วยเหตุผลจากมลภาวะ ความเป็นส่วนตัว และข้อจํากัดของอาคารนั่นเองนำมาดัดแปลง ให้ตอบสนองแนวคิดดังกล่าว โดยเริ่มจากการรื้อโครงสร้างพื้นชั้นบนของชั้น 2 ของตึกออกไป จนเกิดเป็นชั้นลอยที่ชั้น 3 หรือ Double Space และเปิดหลังคาดาดฟ้าของตึกออก เพื่อนําแสงธรรมชาติเข้ามาภายในพื้นที่ให้เป็นพื้นที่เล่นของเด็ก และจัดให้ส่วนบริเวณที่เป็น Semi-outdoor เป็นพื้นที่ประกอบอาหารที่ทำให้พ่อแม่สามารถมองเห็นลูกๆได้ตลอดเวลา และทำให้เกิดความต่อเนื่องและความลื่นไหลของ Space ด้วยการใช้เส้นโค้ง มาวางผังของส่วนประกอบอาหาร และจัดด้านในของ Space ให้เป็นพื้นที่นั่งพักผ่อนของผู้สูงอายุภายในบ้าน พร้อมใช้เฟอร์นิเจอร์ มาช่วยรองรับการใช้พื้นที่ที่สมาชิกจะทำกิจกรรมร่วมกันได้ โดยเฉพาะสมาชิกกลุ่มเด็กและผู้สูงวัย ซึ่งในส่วนนี้ กระเบื้องของคอตโต้สามารถตอบโจทย์ในแง่ของฟังก์ชั่น งานดีไซน์ และบรรยากาศในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี ทั้งช่วยดักจับฝุ่นละออง และแบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากการที่เป็นพื้นที่แบบ Semi-outdoor อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ผลงานการประกวดดังกล่าว อาจเป็นเพียงตัวอย่างที่สะท้อนมุมมอง ความคิด ถึงแนวคิดรูปแบบบ้าน ที่พักอาศัยของ Main Spenders ที่จะมีขึ้น และสอดรับกับผลการวิจัยของ ฮิลล์ อาเซียน ที่ว่า ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ถึง 85% ให้ความสนใจที่จะมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคม และเห็นด้วยว่า พวกเขาเต็มใจจ่ายมากขึ้นอีก 10% ถ้าแบรนด์มีส่วนในการแก้ปัญหาทางสังคม พวกเขามีความคาดหวังอย่างมากต่อแบรนด์ต่างๆ และมองว่าแบรนด์ควรเติมเต็มในหลากหลายบทบาทต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสังคม